วันพุธที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ลาดกระบังค้นคว้าสูตรใหม่อิฐมวลเบาผสมขี้เถ้าแกลบเพิ่มความเย็นให้บ้านประหยัดพลังงาน

"เทคโนลาดกระบัง" จับมือเอกชนพัฒนาเทคโนโลยีผลิตอิฐมวลเบาจากขี้เถ้า ส่วนผสมใหม่ทดแทนทรายและปูนซีเมนต์ ระบุจุดเด่นขี้เถ้าแกลบช่วยลดอุณหภูมิห้องลงเฉลี่ย 1 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับอิฐบล็อกและอิฐมอญ

ดร.วัชระ เพิ่มชาติ ภาควิชาวิศวกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กล่าวว่า คณะวิศวกรรมศาสตร์ ร่วมกับบริษัท Professional Block จำกัด ในการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอิฐมวลเบา ทดแทนการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ โดยมุ่งพัฒนาการผลิตอิฐมวลเบาชนิดไม่อบไอน้ำ ร่วมกับการค้นหาสูตรส่วนผสมใหม่ ที่ให้คุณภาพใกล้เคียงกับผลิตภัณฑ์ที่ผลิตด้วยเทคโนโลยีจากต่างประเทศ ทั้งยังมีคุณภาพดีกว่าอิฐบล็อกและอิฐมอญ ซึ่งเป็นวัสดุดั้งเดิมสำหรับงานก่อสร้างทั่วไป

ทีมงานได้ทดสอบคุณสมบัติอิฐมวลเบาที่ใช้วัตถุดิบต่างชนิด อาทิเช่น ปูนซีเมนต์ ทราย โฟม ขี้เถ้าลอยจากแกลบและขี้เถ้าลอยจากถ่านหิน เปรียบเทียบกับอิฐมอญและอิฐบล็อกธรรมดา ในเรื่องน้ำหนัก กันความร้อนและต้นทุน ทั้งนี้ ขี้เถ้าลอยเป็นของเหลือทิ้งจากขบวนการเผาไหม้ ที่มีคุณสมบัติเหมาะสม สามารถนำมาทดแทนทรายและปูนซีเมนต์ ซึ่งเป็นส่วนประกอบในอิฐ จึงลดต้นทุนผลิต และเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

"ผลการศึกษาพบอัตราส่วนผสมเถ้าลอยของทั้งถ่านหินและแกลบที่ร้อยละ 12.5 โดยน้ำหนักจะให้ค่าความแข็งแรงของวัสดุสูงที่สุด นอกจากนี้ ยังพบว่าหากผสมขี้เถ้าลอยในอัตราส่วนที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้การนำความร้อนของอิฐมวลเบาลดลงตามอัตราส่วน ขณะที่อิฐผสมเถ้าลอยแกลบจะให้ค่าการนำความร้อนต่ำกว่าเถ้าลอยถ่านหิน" ดร.วัชระกล่าว

จากการทดสอบวัดอุณหภูมิภายในห้อง ที่ผนังสร้างจากอิฐมวลเบาพบว่า มีค่าต่ำกว่าห้องที่สร้างจากอิฐมอญเฉลี่ย 1.0-1.5 องศาเซลเซียส และผลจากการเปรียบเทียบค่าใช้จ่าย ในการสร้างผนังอาคารโดยใช้อิฐแบบต่างๆ เช่น อิฐมวลเบาสูตรเดิมของบริษัท อิฐมอญและอิฐมวลเบาผสมเถ้าลอยแกลบพบว่า อิฐมวลเบาผสมเถ้าลอยแกลบ สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายสูงสุด หรือต้นทุนผลิตอยู่ที่ 320 บาทต่อตารางเมตร ขณะที่อิฐมอญและอิฐมวลเบาดั้งเดิม ต้นทุนอยู่ที่ 370-375 บาทต่อตารางเมตร
ปัจจุบันวงการวัสดุก่อสร้างไทยเริ่มพัฒนาอิฐมวลเบา เพื่อใช้เป็นวัสดุหลักในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือนทดแทนอิฐบล็อกและอิฐมอญ เนื่องจากอิฐมวลเบามีคุณสมบัติโดดเด่น ในเรื่องของน้ำหนัก ใช้ส่วนผสมปูนซีเมนต์น้อย ระยะเวลาก่อสร้างสั้นลง ตลอดจนสามารถกันความร้อน ทำให้อิฐชนิดนี้เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น

เอกชนหลายแห่งได้พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอิฐมวลเบาในรูปแบบต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และลดระยะเวลาในการผลิตให้สั้นลง เช่น การผลิตแบบอบไอน้ำและไม่อบไอน้ำ แต่เนื่องจากเทคโนโลยีการผลิตจำเป็นต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ส่งผลให้ราคาของอิฐมวลเบาชนิดอบไอน้ำยังอยู่ในเกณฑ์สูง เมื่อเทียบกับราคาอิฐทั่วไป

"ความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาและภาคอุตสาหกรรม ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถนำผลที่ได้จากงานวิจัยไปใช้ปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์ได้ในอนาคต ซึ่งเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรมของประเทศ โดยลดการนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศ" หัวหน้าโครงการวิจัย กล่าว

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ 8/1/50

อิฐรักษ์โลก


งานก่อสร้างตั้งแต่ปีเสือจนถึงปีกระต่าย ไม่ว่าโครงการเล็กหรือใหญ่ ต่างหันมาใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในการก่อสร้างมากขึ้น เพื่อเป็นจุดขาย เพิ่มความทันสมัย และการมีส่วนร่วมลดโลกร้อนของผู้อยู่อาศัยอย่างลงตัว

เทรนด์กรีน
นายธนกร ปริศวงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อีโค่ แมท จำกัด ผู้พัฒนาอิฐอีโค่บล็อก เล่าว่า บริษัทขนาดย่อมของเขาเป็นองค์กรหนึ่งที่เกิดขึ้นในปี 2547 เพื่อวิจัยและพัฒนาอิฐรักษ์โลกโดยตรง เพราะมองเห็นโอกาสการเติบโตของวัสดุก่อสร้างทางเลือกสีเขียว

บริษัทได้รับโจทย์จากโรงงานผลิตไฟฟ้าจากแกลบแห่งหนึ่งในจ.สระบุรี ที่ต้องการช่องทางปล่อยของเหลือจากกระบวนการผลิตที่อยู่ในรูปขี้เถ้าแกลบ ซึ่งทางออกมีเพียงนำไปฝังกลบและผสมดินปลูกต้นไม้จำหน่ายซึ่งเป็นช่องทางที่ปล่อยของเหลือได้น้อยมาก

อีโค่บล็อก เกิดขึ้นจากประสบการณ์ที่คลุกคลีอยู่ในวงการวิจัยและพัฒนาวัสดุทำผนังมานานกว่า 20 ปีของ ธนกร ด้วยการเป็นผู้บริหารเกี่ยวกับวัสดุก่อสร้างผนังอยู่ในบริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) และบริษัท ไทยผลิตภัณฑ์ยิปซั่ม จำกัด

เขาเริ่มถ่ายทอดภูมิความรู้ให้ฟังว่า วัสดุทำผนังที่มีในตลาดดั้งเดิมเป็นอิฐมอญสีแดง แต่มีข้อเสียอยู่ที่น้ำหนักมาก อมความร้อน ทำให้พัฒนาการของอิฐก่อผนังถูกยกระดับเป็นอิฐมวลเบาในเวลาต่อมา แต่ก็ยังเป็นเทคโนโลยีที่มีราคาแพงเพราะซื้อโนฮาวน์มาจากประเทศเยอรมนี แต่ความแข็งแรงยังไม่สามารถตอบโจทย์ด้านการตอกยึดเพื่อแขวนของหนักได้

“อิฐมอญแดงต้องปั้นแล้วนำไปเผาก่อให้เกิดมลพิษระหว่างกระบวนการผลิต ส่วนอิฐมวลเบาระหว่างกระบวนการผลิตต้องนำไปอบไอน้ำให้มีน้ำหนักที่เบา แต่ด้วยความเบาเพราะทำจากส่วนผสมจากโฟมจึงไม่สามารถรับน้ำหนักในการตอกเจาะยึดสิ่งของที่มีน้ำหนักได้ดี” ธนกร ชี้ให้เห็นถึงจุดอ่อนวัสดุก่อสร้างในปัจจุบัน

สร้างจุดแข็งด้วยจุดอ่อนคู่แข่ง
ปัญหาที่พบในอิฐมอญและอิฐมวลเบานี้เอง เป็นที่มาของการพัฒนาอีโค่บล็อกที่มีคุณสมบัติเติมเต็มจุดอ่อนของผลิตภัณฑ์คู่แข่ง โดยหันไปเน้นจุดขายที่ส่วนผสมจากธรรมชาติ โดยนำขี้เถ้าแกลบจากโรงงานผลิตไฟฟ้าจากแกลบ และขี้เลื่อยไม้มาใช้เป็นวัตถุดิบเสริมความแข็งแรงให้กับคอนกรีตซึ่งเป็นวัตถุดิบตั้งต้น

เจ้าของอิฐอีโค่บล็อกบอกว่า ข้อดีของขี้เถ้าแกลบอยู่ที่น้ำหนักเบา สามารถนำไปใช้เป็นส่วนผสมร่วมกับขี้เลื่อยและคอนกรีตได้ถึง 50% ทำให้ต้นทุนในการผลิตต่อก้อนมีราคาที่ถูกลงและสามารถจำหน่ายในราคาที่ไม่ต่างจากอิฐมอญทั่วไปได้

กระบวนการผลิตของอีโค่บล็อกถือเป็นหัวใจสำคัญที่สร้างความภาคภูมิใจให้กับ ธนกร เพราะเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมตั้งแต่เริ่มจนจบกระบวนการ โดยส่วนผสมจะถูกคลุกเคล้าให้เข้ากันในไซโล และลำเลียงขึ้นสู่สายพานเทลงสู่บล็อกขึ้นรูปเป็นอิฐบล็อกขนาด 19x39x7 เซนติเมตรด้วยเครื่องอัดไฮโดรลิก จากนั้นนำไปผึ่งลม 1 คืนและผ่านการบ่มน้ำตากแดดอีก 3-4 วันพร้อมเสิร์ฟถึงมือผู้ก่อสร้าง

“ตลอดกระบวนการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพราะใช้ไฟฟ้าอัดขึ้นรูปในช่วงสั้นๆ และอาศัยแสงแดดในการทำให้แห้ง ขณะที่การผลิตอิฐมอญจะต้องเผาซึ่งก่อให้เกิดมลพิษในอากาศ ส่วนอิฐมวลเบาต้องอบไอน้ำซึ่งใช้พลังงานมหาศาล”กรรมการผู้จัดการ บริษัท อีโค่ แมท จำกัด กล่าว

การันตีผลงานคับคั่ง
อีโค่บล็อกที่วิจัยและพัฒนาได้ถูกส่งไปทดสอบประสิทธิภาพการความทนทานหลายแห่งด้วยกัน อาทิ การทดสอบเรื่องเสียงและการทนไฟ จากศูนย์บริการวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งรับรองผลว่ามีค่ากันเสียงได้ 40 เดซิเบล และมีค่าทนไฟ 4 ชั่วโมง

นอกจากนี้ยังส่งไปทดสอบที่สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย พบว่ามีความต้านทานแรงกดได้ 7,000 กิโลกรัม และดูดซึมน้ำ 21-23% ขณะที่ผนังอิฐมอญดูดซึมน้ำประมาณ 30-35% ซึ่งคุณสมบัติการดูดซึมน้ำน้อยจะทำให้ผิวปูนฉาบมีน้ำมากพอที่ปูนซีเมนต์จะเกิดปฏิกิริยาทำให้แข็งตัวได้ดี ลดโอกาสการแตกลายงาที่พบในอาคารก่อสร้างและบ้านพักอาศัยในปัจจุบัน

อีโค่บล็อกจะเป็นทางเลือกในการแก้ปัญหาที่สิ่งอาคารบ้านเรือนก่อสร้างพบ อาทิ การแตกลายของผนังที่ฉาบเนื่องจากสภาพแวดล้อม และวัสดุที่เกิดการหดตัว ซึ่งแม้แต่ต่างประเทศก็เป็น เราจึงมักเห็นสถาปัตยกรรมในต่างประเทศที่ก่อสร้างแบบไม่ฉาบปูนและไม่ทาสีเป็นจำนวนมาก เพื่อลดการซ่อมแซมริ้วรอยที่ซ้ำซ้อน

นวัตกรรมอิฐสีเขียว อีโค่บล็อกยังได้รับรางวัลรองชนะเลิศด้านผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร ประเภทนักออกแบบ ประชาชน ธุรกิจอุตสาหกรรม และรางวัลป๊อปปูล่าโหวต ในการประกวดออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงนิเวศเศรษฐกิจแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 3 ประจำปี 2553 ซึ่งจัดขึ้นโดยศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติเมื่อปลายปีเสือที่ผ่านมา

ทั้งยังได้รับการประเมินวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ (แอลซีเอ) จากศูนย์ความเป็นเลิศเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ภายใต้ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ รับรองว่าเป็นนวัตกรรมที่มีผลกระทบน้อยกว่าอิฐมอญและน้อยกว่าอิฐมวลเบา ซึ่งอนาคตมีประโยชน์หลังจากก่อสร้างเป็นอาคารในแง่การคำนวณค่าการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกของอาคารสะดวก

“ธุรกิจอีโค่บล็อกเป็นธุรกิจเอสเอ็มอี เกิดขึ้นด้วยเงินทุนเพียง 3-4 ล้านบาท มีเป้าหมายสูงสุดในอนาคตว่า อยากจะนั่งแท่นเป็นวัสดุทางเลือกในบัญชีแนะนำวัสดุก่อสร้างของวิศวกร โดยเฉพาะโครงการก่อสร้าง คอนโด บ้านพัก รีสอร์ท สำนักงานที่มีคอนเซ็ปต์อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม”กรรมการผู้จัดการ บริษัท อีโค่ แมท จำกัด กล่าว

ขณะนี้บริษัทมีกำลังผลิตอีโค่บล็อกอยู่ที่ประมาณวันละ 20,000 ก้อน โดยปีที่ผ่านมามียอดจำหน่ายไปประมาณ 3 ล้านกว่าก้อนตลอดปี และมีการขยายผลเพิ่มในส่วนของการมองหาพันธมิตรที่ทำหน้าที่ผลิตอีโค่บล็อกและส่งต่อให้บริษัทเป็นผู้จำหน่ายแต่เพียงผู้เดียว ซึ่งตอนนี้มีพันธมิตรแล้ว 2 แห่งและยังเปิดโอกาสสำหรับทุกคนที่ผู้สนใจลงทุน

ธนกร คาดการณ์เกี่ยวกับวัตถุดิบที่นำมาใช้ว่า ในตอนนี้วัตถุดิบขี้เถ้าแกลบที่ได้จากโรงไฟฟ้าในจังหวัดสระบุรี 2 แห่งถือว่ายังมีมากพอ เพราะยิ่งมีโรงไฟฟ้าที่ใช้แกลบเป็นเชื้อเพลิงจะสิ่งมีวัตถุดิบในการผลิตอีโค่บล็อกมากเช่นกัน และอนาคตไม่มีวันหมด จุดนี้เองที่ทำให้ธุรกิจดังกล่าวสามารถนำไปเจรจาเพื่อขายโนฮาวน์กับเวียดนามซึ่งประเทศเขามีกำลังผลิตข้าวเพิ่มขึ้นทุกปีและแกลบไม่มีวันหมดเช่นกัน

ที่มา http://eureka.bangkokbiznews.com/detail/373831

CLB อิฐมวลเบาโดยวิศวกรคนไทย

วันเสาร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2555


ลักษณะอิฐมวลเบา

ลักษณะของอิฐมวลเบา แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดได้แก่

อิฐมวลเบาแบบเสริมเหล็ก หรือที่เรียกว่า Q-con คือส่วนที่ใช้ก่อสร้างแผ่นผนัง พื้น หรือหลังคา เป็นต้น
และอิฐมวลเบาแบบไม่เสริมเหล็ก เรียกว่า Super Block คือส่วนที่ใช้สำหรับก่อผนัง ที่มีความหนา
สามารถทนแรงกดได้ถึง 30-80 กก. ใช้ก่อเป็นผนังรับแรงได้ประมาณ 80 กก./ตรม.
อิฐมวลเบา 1 ก้อน เท่ากับอิฐมอญ 18 ก้อน ส่วนประกอบของอิฐมวลเบานั้นทำมาจาก ทราย ซีเมนต์ ปูนขาว
ยิปซั่ม และผงอลูมิเนียม มีฟองอากาศมากประมาณ 75% จึงมีความเบา ลอยน้ำได้ ฟองอากาศเป็น
closed cell ที่ไม่ดูดซึมน้ำ หรือดูดซึมน้ำน้อยกว่าอิฐมอญ 4 เท่า
ซึ่งคุณสมบัติพิเศษเช่นนี้ทำให้ประหยัดโครงสร้างได้อย่างมาก อีกทั้งยังเป็นฉนวนกันความร้อน
เพราะมีค่าการต้านทานความร้อนดีกว่าคอนกรีตบล็อกถึง 4 เท่า และดีกว่าอิฐมอญ 6-8 เท่า
ไม่สะสมความร้อน ไม่ติดไฟ ทนไฟ 1,100 องศาได้นาน 4 ชม. และยังกันเสียงได้ดี
เมื่อฉาบจะแตกร้าวน้อยกว่าก่ออิฐฉาบปูน เนื่องจากตัวบล็อกกับปูนฉาบมีส่วนผสมที่ใกล้เคียงกัน


ประเภทของอิฐมวลเบา

ประเภทของอิฐมวลเบา แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

1. อิฐมวลเบาแบบที่มีฟองอากาศข้างใน

2. อิฐมวลเบาแบบที่ใช้ additive เป็นส่วนผสมให้มีน้ำหนักเบา

3. อิฐมวลเบาแบบที่ใช้โฟม เป็น aggrigate ส่วนผสมของทรายและปูนเข้าด้วยกัน

อิฐมวลเบา ราคาอิฐมวลเบา ร้านขายอิฐมวลเบา อิฐมวลเบาซีแพค

ที่มา http://www.xn--h3cuuqj7a3bk6i.net/%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%90%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B2/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A0%E0%B8%97%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%90%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B2.html

วันพุธที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

วัตกรรมอิฐมวลเบาด้วยเศษโฟม


สมบูรณ์ คงสมศักดิ์ศิริ พลิกตำรารีไซเคิลวัสดุ วิจัยนวัตกรรมอิฐมวลเบาด้วยเศษโฟม



หลายปีที่ผ่านมา "อิฐมวลเบา" (คอนกรีตมวลเบา) กลายเป็นวัสดุทดแทนที่ได้รับความนิยมมากขึ้น ด้วยคุณสมบัติเฉพาะตัวที่สามารถป้องกันความร้อนได้ดีกว่าอิฐมอญประมาณ 3 เท่า และก่อผนังได้รวดเร็ว อิฐมวลเบาแบรนด์ต่าง ๆ ที่มีขายปัจจุบัน ส่วนใหญ่เป็นเทคโนโลยีการผลิตที่มาจากเครื่องจักรต่างประเทศเกือบทั้งสิ้น

อย่างไรก็ตาม วันนี้ได้มีอิฐมวลเบาหรือบล็อกคอนกรีตมวลเบาที่มาจากการคิดค้นโดยคนไทยแล้ว ผลงานของ "ผศ.สมบูรณ์ คงสมศักดิ์ศิริ" อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วัย 57 ปี ที่ใช้เวลาค้นคว้าเกี่ยวกับการนำวัสดุรีไซเคิลมาพัฒนาเป็น "นวัตกรรมวัสดุก่อสร้าง" เพื่อใช้เป็นวัสดุทดแทนธรรมชาติ

กว่า 5 ปีที่ผ่านมา นับจากปี 2548 "อ.สมบูรณ์" ใช้เวลาศึกษาและพัฒนา อย่างจริงจัง มีวัสดุทดแทนเกิดขึ้นแล้ว 11 รายการ หนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่ถือเป็นมาสเตอร์พีซคือ "อิฐมวลเบา" ที่ใช้วัสดุเหลือทิ้งอย่าง "เศษโฟม" มารีไซเคิล โดยได้รับทุนสนับสนุนจาก สกว. (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย) และบริษัท โปลิโฟมอุตสาหกรรม จำกัด จนกลายเป็นอิฐมวลเบาที่นำมาก่อผนังได้จริง มีความแข็งแรงได้ตามมาตรฐานและค่าการดูดซึมน้ำต่ำ

ความยากอยู่ที่การวิจัยเพื่อหาส่วนผสมวัตถุดิบที่ลงตัว เพื่อให้ได้อิฐคอนกรีตมวลเบาที่มีค่าการรับน้ำหนักได้มาตรฐานและมีอัตราดูดซึมน้ำต่ำ

"จุดเริ่มต้นการคิดค้นอิฐมวลเบา มาจากแนวคิดที่อยากนำวัสดุเหลือทิ้งอย่างเศษโฟมมารีไซเคิล แทนที่จะนำไปเผาทำลายกลายเป็นมลภาวะ และได้ใช้อิฐมวลเบาที่พัฒนาขึ้นเองมาก่อสร้างเป็นบ้านจำลองขนาดย่อมอยู่ภายในพระจอมเกล้าพระนครเหนือมานาน 5 ปีแล้ว และสภาพบ้านก็ยังดีไม่มีปัญหาผนังแตกร้าว" ผศ.สมบูรณ์บอกกับ "ประชาชาติธุรกิจ"

ทั้งนี้ การรับน้ำหนักของอิฐมวลเบามีการอ้างอิงตามมาตรฐาน มอก. อย่างมาตรฐานกำหนดว่าต้องรับน้ำหนักได้ไม่ต่ำกว่า 25 KSC (กิโลกรัม/ตร.ซม.) แต่สำหรับคอนกรีตมวลเบาที่ผลิตสามารถรับน้ำหนักได้สูงกว่ามาตรฐานคือ 50 KSC และมีอัตราดูดซึมน้ำ 10% ต่ำกว่าอิฐมวลเบาบางยี่ห้อในตลาด

โดยอิฐมวลเบาขนาด (กว้าง-ยาว-หนา) 10 x 25 x 12.5 เซนติเมตร มีรูปร่างคล้ายบล็อกคอนกรีตทั่วไป ถูกออกแบบให้มีรูตรงกลางสำหรับเทปูนซีเมนต์ เพื่อเป็น ตัวประสานบล็อกแต่ละก้อน แต่ละก้อนมีน้ำหนักประมาณกว่า 1 กิโลกรัมจึงเคลื่อนย้ายสะดวก

การเลือกใช้เศษโฟมรีไซเคิลมาเป็นส่วนผสม ยังมีข้อดีในเรื่องการประหยัดพลังงาน เพราะมีคุณสมบัติเป็นฉนวน เฉลี่ยแล้วประหยัดแอร์ได้เพิ่มขึ้นประมาณ 30% และช่วยเก็บความเย็นภายในห้องได้อีกนานหลายชั่วโมงหลังจากปิดแอร์ ส่วนต้นทุนการผลิตก็ถือว่าถูกมาก

"ผมคำนวณออกมาแล้ว มีต้นทุนประมาณก้อนละไม่เกิน 5 บาทเท่านั้น"

ข้อดีของอิฐมวลเบาที่ผลิต คือสะดวกต่อการนำมาก่อผนัง เพราะสามารถใช้ปูนซีเมนต์ทั่วไป ต่างจากอิฐมวลเบาหลายยี่ห้อในตลาดที่ต้องใช้ปูนซีเมนต์สูตรพิเศษโดยเฉพาะเท่านั้น

"หลังจากนี้ ผมก็มองเรื่องการจดอนุสิทธิบัตรไว้ เพราะคงไม่คิดผลิตขายเอง แต่ถ้ามีคนสนใจ คงเป็นลักษณะการซื้อขายลิขสิทธิ์มากกว่า"

"อ.สมบูรณ์" บอกว่า นอกจากฐมวลเบา ยังมีวัสดุทดแทนอื่น ๆ ที่มีความคิดว่าจะจดอนุสิทธิบัตรอีก 2 ตัว คือ 1) บล็อกดินมวลเบา และ 2) ไม้เทียมที่ผลิตจากกระดาษถ่ายเอกสารนำมารีไซเคิล

"ผมตั้งใจจะพัฒนาบล็อกดินเหนียว มวลเบาให้สำเร็จ เพื่อให้กลายมาเป็นวัสดุ ที่สามารถนำไปก่อผนังได้ง่าย เพราะมีน้ำหนักเบาและออกแบบรูสำหรับหยอด ปูนซีเมนต์ไว้ให้"

ความฝันของอาจารย์ คือแค่มีความรู้เรื่องช่างติดตัวเล็กน้อย ก็สามารถก่อผนังเองได้ !

ที่มา http://www.prachachat.net/view_news.php?newsid=02rea01190753&sectionid=0217&day=2010-07-19

คุณสมบัติที่ดีของอิฐมวลเบา

 

   คุณสมบัติที่ดีของอิฐมวลเบามีอยู่มากมาย เนื่องจากอิฐมวลเบาเป็นผลิตภัณฑ์คอนกรีตที่ถูกพัฒนาขึ้นมาใหม่ มีกรรมวิธีการผลิตจากธรรมชาติ ประกอบด้วยปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ทราย ปูนขาว ยิปซั่ม น้ำ และสารกระจายฟองอากาศที่เป็นส่วนผสมพิเศษของเทคโนโลยีที่ได้คิดค้นขึ้น ซึ่งร้านขายอิฐมวลเบา อิฐมวลเบาซีแพค คอนกรีตมวลเบา อิฐบล็อกมวลเบาใช้ระบบการผลิตอิฐมวลเบาแบบ AAC หรือที่รู้จักกันดีว่า Autoclaved Aerated Concrete จากเครื่องจักรที่นำเขาจากต่างประเทศ ผลิตภัณฑ์อิฐมวลเบาเป็นวัสดุก่อสร้างยุคใหม่ที่มีความพิเศษคือ น้ำหนักเบา ขนาดมาตรฐานเท่ากันทุกก้อน ทนต่อความร้อน ไฟ เสียง และยังสามารถตัดแต่งเข้ารูปได้ง่าย ไม่มีเศษเป็นอิฐหัก ที่สำคัญไปกว่านั้นอิฐมวลเบายังช่วยให้การฉาบอิฐมวลเบารวดเร็ว สะดวก ลดระยะเวลา และต้นทุนในการก่อสร้าง ซึ่งหากเปรียบเทียบราคาอิฐมวลเบากับราคาอิฐมอญ และราคาอิฐบล็อกแล้วมีราคาที่สูงกว่า แต่ก็มีประสิทธิภาพที่มากกว่าเช่นกัน โดยอิฐมวลเบาสามารถแบ่งออกเป็น 3 ชนิดคือ อิฐมวลเบาที่มีฟองอากาศภายใน อิฐมวลเบาที่ใช้วัตถุเจือปนเป็นส่วนผสมทำให้มีน้ำหนักเบา และอิฐมวลเบาที่ใช้โฟมเป็นส่วนผสมของทราย คอนกรีต และปูนให้เข้าด้วยกัน

การผลิตอิฐมวลเบา

วันพฤหัสบดีที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2555

ประวัติความเป็นมาของอิฐมวลเบา

ก้าวสำคัญของการริเริ่มคิดค้นการผลิตคอนกรีตมวลเบา เกิดขึ้นจากแนวคิดที่ว่าด้วยการนำสดุที่มีอยู่มาพัฒนาให้เป็นวัสดุ ก่อสร้างชนิดใหม่ ที่มีความสามารถในการทำนได้ดีกว่าเดิม เช่น มีความแข็งแกร่ง,น้ำนักเบา ,ใช้งานง่ายและสะดวกAYLSWORTH ได้คิดค้นโดยการเพิ่มฟองอากาศในเนื้อวัสดุ ทำน้ำนักเบาโดยใช้ผงโลหะ ในปี ค.ศ.1881 (พ.ศ. 2424) ประเทศสวีเดน MICHACLIS ได้คิดค้นวัสดุก่อสร้างชนิดแรกที่ใช้ก่อผนัง บ่มด้วยไอน้ำดยมีส่วนผสม ของทรายกับปูนขาวเป็นวัตถุดิบหลัก ในปี ค.ศ.1914 (พ.ศ. 2457) ประเทศอังกฤษ (Metallic Powder) เป็นตัวทำปฏิกิริยาเคมี ในปี ค.ศ.1923 (พ.ศ. 2466) ประเทศอังกฤษ ERIKSSON ได้นำาพัฒนาโดยรวมวิธีการอบไอน้ำละเพิ่มฟองอากาศเข้าด้วยกันในเนื้อ วัสดุ ซึ่งเป็นผลทำห้ได้วัสดุก่อผนังที่มีความเบาและมีความแข็งแกร่งสูง ซึ่งดีกว่าอิฐก่อ ผนังชนิดอื่นในโลกการผลิตคอนกรีตมวลเบาได้ถือกำนิดเกิดขึ้นและมีการพัฒนามาจนถึง ปี 1929 (พ.ศ.2472) ในปี ค.ศ.1929(พ.ศ. 2472) ประเทศเยอรมัน ช่วงสงครามโลกนำาพัฒนากระบวนการผลิตในรูปของเครื่องจักร ควบคุมดัวยระบบ คอมพิวเตอร์ เพื่อผลิตคอนกรีตมวลเบาสำหรับซ่อมแซมบ้านเรือน,อาคารสำกงาน ในปี ค.ศ.1995(พ.ศ. 2538) ประเทศไทย ประเทศไทยมีความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีการก่อสร้างเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ที่เป็นธุรกิจที่ทำให้กับนักลงทุนเป็นอย่างมาก แต่ทว่างาน ก่อสร้างในเมืองไทยยังมีปัญหาด้านอิฐก่อผนังที่ยังไม่มีวิธีการผลิตที่ควบคุมมาตรฐานที่ดี ซึ่งผู้ประกอบการรายใหญ่ในขณะนั้น ได้ค้นพบการแก้ปัญหาในงานก่อสร้าง ลดความล่าช้า ในการทำรงการ สามารถส่งมอบโครงการได้ตรงตามกำหนดเวลา ด้วยการซื้อลิขสิทธิ์ การผลิตและเครื่องจักรจากเยอรมันจาก 2 ผู้ผลิตชั้นนำของโลกคือ HEBLE,YTONG และWEHEAHAN โรงงานผลิตสินค้าออกสู่ตลาด ในปี 2539-2540 ตามลำดับ ในปี ค.ศ.2002(พ.ศ. 2545) ประเทศไทย ประเทศไทยมีความนิยมในตัวคอนกรีตมวลเบาอบไอน้ำงมาก จนมีผู้คิดค้นวัสดุทดแทน (CLC)หรือเทียบเท่า แต่ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร รวมถึงมาตรฐานการผลิตที่ถูกต้อง และแก้ปัญหา ในปี ค.ศ.2004(พ.ศ. 2547) ประเทศไทย บริษัท ไทยไล้ท์บล๊อคแอนด์แพเนล จำกัด และบริษัท ชลบุรีคอนกรีต ได้ก่อสร้างโรงงาน ผลิตคอนกรีตมวลเบาแบบมีฟองอากาศ-อบไอน้ำวยเงินลงทุนกว่า 700 ล้านบาท ในปี ค.ศ.2006(พ.ศ. 2549) ประเทศไทย บริษัท อุตสาหกรรมคอนกรีต ซีแพค จำกัด ชื่อสินค้า CPAC ลงทุนกว่า 500 ล้านบาท บริษัท พรอสเพอริตี้ คอนกรีต จำด ภายใต้ชื่อ PCC Autoclaved Aerated Concrete นกรีตมวลเบาที่สมบูรณ์แบบที่สุด” เพราะเป็นฉนวนกันความร้อน ,น้ำหนักเบา ,กันเสียงได้ดี และเป็นวัสดุทนไฟอีกชนิดหนึ่งประกอบกับ มีอายุการใช้งานที่ยืนยาว ใกล้เคียงกับคอนกรีต คือไม่น้อยกว่า 60 ปี อีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้คอนกรีตมวลเบาเป็นที่นิยมมากคือ เป็น วัสดุที่ผลิตจาก วัตถุดิบที่มีอยู่ในประเทศ และได้จากธรรมชาติ จึงไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ผลิตได้ทุกฤดูกาล ที่มา http://www.pcc-concrete.co.th/download/aac%20hand%20book.pdf

อิฐมวลเบา

“อิฐมวลเบา” คุณสมบัติที่ดีของอิฐมวลเบา
คุณสมบัติที่ดีของอิฐมวลเบามีอยู่มากมาย เนื่องจากอิฐมวลเบาเป็นผลิตภัณฑ์คอนกรีตที่ถูกพัฒนาขึ้นมาใหม่ มีกรรมวิธีการผลิตจากธรรมชาติ ประกอบด้วยปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ทราย ปูนขาว ยิปซั่ม น้ำ และสารกระจายฟองอากาศที่เป็นส่วนผสมพิเศษของเทคโนโลยีที่ได้คิดค้นขึ้น ซึ่งร้านขายอิฐมวลเบา อิฐมวลเบาซีแพค คอนกรีตมวลเบา อิฐบล็อกมวลเบาใช้ระบบการผลิตอิฐมวลเบาแบบ AAC หรือที่รู้จักกันดีว่า Autoclaved Aerated Concrete จากเครื่องจักรที่นำเขาจากต่างประเทศ ผลิตภัณฑ์อิฐมวลเบาเป็นวัสดุก่อสร้างยุคใหม่ที่มีความพิเศษคือ น้ำหนักเบา ขนาดมาตรฐานเท่ากันทุกก้อน ทนต่อความร้อน ไฟ เสียง และยังสามารถตัดแต่งเข้ารูปได้ง่าย ไม่มีเศษเป็นอิฐหัก ที่สำคัญไปกว่านั้นอิฐมวลเบายังช่วยให้การฉาบอิฐมวลเบารวดเร็ว สะดวก ลดระยะเวลา และต้นทุนในการก่อสร้าง ซึ่งหากเปรียบเทียบราคาอิฐมวลเบากับราคาอิฐมอญ และราคาอิฐบล็อกแล้วมีราคาที่สูงกว่า แต่ก็มีประสิทธิภาพที่มากกว่าเช่นกัน โดยอิฐมวลเบาสามารถแบ่งออกเป็น 3 ชนิดคือ อิฐมวลเบาที่มีฟองอากาศภายใน อิฐมวลเบาที่ใช้วัตถุเจือปนเป็นส่วนผสมทำให้มีน้ำหนักเบา และอิฐมวลเบาที่ใช้โฟมเป็นส่วนผสมของทราย คอนกรีต และปูนให้เข้าด้วยกัน “อิฐมวลเบา” เครื่องมือช่างที่ใช้สำหรับอิฐมวลเบา
เทคนิคในการใช้งานอิฐมวลเบา ควรปฎิบัติตามคำแนะนำของช่างผู้เชี่ยวชาญอย่างเคร่งครัด และควรใช้เครื่องมือช่างที่เหมาะสมกับอิฐมวลเบาด้วย ซึ่งสามารถขอคำปรึกษาหรือคำแนะนำได้จากช่างของร้านขายอิฐมวลเบา หรือบริษัทจำหน่ายอิฐมวลเบาที่มีประสิทธิภาพ เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้การทำงานที่ง่าย รวดเร็ว ประหยัดแรงงาน และค่าใช้จ่าย ทั้งนี้อิฐมวลเบามีเครื่องมือช่างที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ หัวปั่นปูน ใช้สำหรับปั่น ตีกวนปูนให้เข้ากันดีในเวลาอันสั้น โดยเสียบเข้ากับหัวสว่านไฟฟ้า เกรียงปูนก่อ ใช้ป้ายปูนก่อ มีขนาดให้เลือกใช้ตามความหนาของอิฐมวลเบา ลักษณะเป็นเกรียงหวี ช่วยควบคุมความหนา และความกว้างของเนื้อปูนก่อ ค้อนยาง ใช้เคาะปรับระดับ และแนวในการก่ออิฐมวลเบา โดยไม่ทำให้ผิวงานเสียหาย อีกทั้งรอยต่อมีความแข็งแรง ระดับน้ำ ใช้ตรวจสอบระดับตามแนวราบ และแนวดิ่งของผนัง เหล็กฉาก ใช้สำหรับทาบเส้นเพื่อตัดอิฐมวลเบา ในแนวตรงให้ได้ฉาก เลื่อยตัดบล็อค ใช้ตัดก้อนอิฐมวลเบา ได้ตรงแนว รวดเร็ว ไม่บิดเบี้ยว เกรียงฟันปลา ใช้ไสขัดผิวผนังส่วนที่เกินให้เรียบ ในแนวระดับดิ่งฉากตามที่ต้องการ เป็นต้น ที่มา http://www.xn--h3cuuqj7a3bk6i.net/

คุณสมบัติ

คุณสมบัติ อิฐมวลเบาเป็นผลิตภัณฑ์คอนกรีตชนิดใหม่ ผลิตจากวัตถุดิบธรรมชาติได้แก่ ปูนซิเมนต์ปอร์ตแลนด์ ทราย ปูนขาว ยิบซั่ม น้ำ และสารกระจายฟองอากาศส่วนผสมพิเศษในอัตราส่วนที่เป็นสูตรเฉพาะตัว การผลิตส่วนใหญ่เป็นการนำเทคโนโลยีและเครื่องจักรที่นำเข้าจากต่าง ประเทศอาทิเช่น เยอรมนี ออสเตรเลีย ฯ ผลิตภัณฑ์คอนกรีตมวลเบาเป็นวัสดุก่อสร้างยุคใหม่ที่มุ่งเน้นให้เกิด ประโยชน์สูงสุดจากการนำไปใช้งานทุกด้าน ด้วยคุณสมบัติพิเศษ คือ ตัววัสดุมีน้ำหนักเบา ขนาดก้อนได้มาตรฐานเท่ากันทุกก้อน ทนไฟ ป้องกันความร้อน ป้องกันเสียง ตัดแต่งเข้ารูปง่าย ใช้งานได้เกือบ 100% ไม่มีเศษเป็นอิฐหัก และที่สำคัญคือรวดเร็ว สะอาด ลดระยะเวลาในการก่อสร้างและลดต้นทุนโครงสร้างและมีคุณสมบัติที่โดดเด่น ดังนี้ 1. คุณสมบัติทางกายภาพ อิฐมวลเบา หนา 10 เซนติเมตร เมื่อรวมน้ำหนักวัสดุรวมปูนฉาบจะหนัก 120 กิโลกรัม ในขณะที่อิฐมอญก่อ 2 ชั้น (เว้นช่องว่างตรงกลาง) จะหนัก 180 กิโลกรัม ซึ่งน้ำหนักของการก่ออิฐมอญจะมากกว่าทำให้ต้องเตรียมโครงสร้างเผื่อกันรับน้ำหนักในส่วนนี้ด้วย ทำให้ต้นทุนโครงสร้างเพิ่มขึ้น 2. การกันความร้อน หากเป็นกรณีปกติ “อิฐมวลเบา”จะมีค่าการนำความร้อนที่ต่ำกว่าอิฐมอญประมาณ 8-11 เท่า แต่การก่อผนังภายนอกอิฐจะต้องมีความหนา 10 เซนติเมตร และผนังภายในหนา 7 เซนติเมตร ขึ้นไป จึงจะสามารถกันความร้อนได้ดี แต่ในกรณีใช้อิฐมอญก่อ 2 ชั้น ตัวช่องว่างตรงกลาง จะทำหน้าที่เป็นฉนวนกันความร้อนที่ดี และอิฐแถวด้านในไม่สัมผัสความร้อนโดยตรง จึงทำให้คุณสมบัติตรงนี้ของอิฐมอญจะมีความสามารถในการกันความร้อนได้ดีกว่า แต่การเว้นช่องว่างไม่ควรต่ำกว่า 5 เซนติเมตร 3. การกันเสียง ปกติอิฐมวลเบาจะกันเสียงได้ดีกว่าอิฐมอญประมาณ 20% แต่ในกรณีใช้อิฐมอญก่อ 2 ชั้น ช่องว่างตรงกลางจะทำหน้าเป็นฉนวนกันเสียงได้ดีกว่าเกือบ 2 เท่า แต่อิฐมวลเบาจะลดการสะท้อนของเสียงได้ดีกว่าเนื่องจากโครงสร้างของอิฐมวลเบามีฟองอากาศเป็นจำนวนมากอยู่ภายในทำให้ดูดซับ เสียงได้ดี จึงเหมาะสำหรับห้องหรืออาคารที่ต้องการความเงียบ เช่น โรงภาพยนตร์หรือห้องประชุม 4. การกันไฟ อิฐมอญก่อ 2 ชั้นมีฉนวนตรงกลาง (ช่องว่างตรงกลาง) จะกันไฟได้ดีกว่าอิฐมวลเบาเล็กน้อยและทนไฟที่ 1,100 องศาเซลเซียส ได้นานกว่า 4 ชั่วโมงซึ่งนานกว่าอิฐมอญ 2-4 เท่า ทำให้จะช่วยจำกัดความเสียหายในกรณีที่เกิดเพลิงไหม้ได้ 5. ความแข็งแรง การใช้งานทั่วไปไม่ต่างกัน แต่ผนังอิฐมอญจะเหมาะสำหรับการใช้วัสดุกรุผนังที่มีน้ำหนักมาก เช่น หินแกรนิต หรือหินอ่อน 6.น้ำหนักเบาและรับแรงกดได้ดี น้ำหนักเบากว่าอิฐมอญ 2-3 เท่า และเบากว่าคอนกรีต 4-5 เท่า ส่งผลให้ประหยัดค่าก่อสร้างโครงสร้างอาคาร และเสาเข็มลงได้อย่างมาก แต่อาคารยังคงมีความแข็งแรงเท่าเดิมจากโครงสร้างของอิฐมวลเบาที่ประกอบไปด้วยฟองอากาศจำนวนมากทำให้มีน้ำหนักเบาและสามารรับแรงกดได้ดี ซึ่งจากคุณสมบัติข้อนี้ทำให้ผู้ใช้สามารถประหยัดต้นทุนในการ ก่อสร้างได้มาก ยกตัวอย่างเช่น ไม่ต้องลงเสาเข็มลึกมากเนื่องจากโครงสร้างเบาและสามารถ ก่อสร้างโดยใช้โครงสร้างที่เล็กลง ทำให้ประหยัดการใช้เหล็กและมีพื้นที่ใช้สอยภายในมากขึ้น 7. ประหยัดพลังงาน เนื่องจากสามารถกันความร้อนได้ดีกว่าอิฐมอญแล้วยังใช้เครื่องปรับอากาศที่มีขนาดเล็กลงได้ ช่วยประหยัดค่าไฟไปได้มาก กันความร้อนได้ดีกว่าอิฐมอญถึง 4-8 เท่า จึงช่วยลดการถ่ายเทความร้อนจากภายนอก สู่ภายในอาคารได้เป็นอย่างดี ช่วยลดค่าไฟฟ้าได้ถึง 30% 8. ใช้งานง่าย และรวดเร็ว เนื่องจากการผลิตที่เป็นมาตรฐานทำให้สินค้าที่ออกมาเท่ากันทุกก้อน ไม่เหมือนกับอิฐมอญที่ยังมีความไม่เป็นมาตรฐานอยู่ทำให้การก่อสร้างโดยใช้อิฐมวลเบาจะใช้เวลาในการก่อและเกิดการสูญเสียน้อยกว่า โดยเฉลี่ยแล้วภายใน 1 วันการก่อผนังโดยใช้อิฐมวลเบาจะได้พื้นที่ 25 ตรมไม่ต้องอาศัยความชำนาญของช่าง สามารถตัด แต่ง เลื่อย ไส เจาะ ฝังท่อระบบได้โดยใช้เครื่องมือเฉพาะที่ใช้งานง่าย และหาซื้อได้ทั่วไป. ขณะที่หากใช้อิฐมอญจะก่อได้เพียง 12 ตรม. นอกจากนี้ยังช่วยประหยัดวัสดุอื่นๆ เช่น ปูนฉาบด้วย เนื่องจากสามารถก่อฉาบได้บางกว่าช่วยจำกัดความเสียหายในกรณีที่เกิดเพลิงไหม้ได้ 9.มิติเที่ยงตรง ขนาดมิติเที่ยงตรง แน่นอน ได้ชิ้นงานที่เรียบ สวยงาม มีหลายขนาดให้เลือก ประหยัดวัสดุ และ แรงงานในการก่อ ฉาบ 10. อายุการใช้งาน ยาวนานเท่าโครงสร้างคอนกรีต (50 ปี) เนื่องจากวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตได้แก่ ปูนซีเมนต์ ทราย ปูนขาว ยิปซั่ม สารกระจายฟองและเหล็กเส้น จึงมีอายุการใช้งานยาวนานกว่า อิฐมอญซึ่งส่วนผสมส่วนใหญ่ คือ ดิน คุณสมบัติทางกายภาพ คุณสมบัติทางกายภาพ คุณสมบัติ หน่วย Block Q-CON Lintel & Panel G2 G4 1. ความหนาแน่นแห้ง กก./ลบ.ม. 500 700 600 2. ความหนาแน่นใช้งาน กก./ลบ.ม. 620 910 780 3. ค่ารับกำลังอัด กก./ตร.ซม. 30 50 40 4. Modulus Of Rupture กก./ตร.ซม. 4.4 8 - 5. Ultimate Tensile Strength กก./ตร.ซม. 4.4 4.4 - 6. Modulus Of Elasticity, E กก./ตร.ซม. 15,000 17,500 21,900 ค่าการต้านทานความร้อน ผลิตภัณฑ์ ค่าการนำความร้อน ค่าการต้านทานความร้อน บล็อก 0.13 10 ซม.15 ซม. 0.771.15 แผ่นผนัง แผ่นหลัง ทับหลัง 0.16 20 ซม.10 ซม.15 ซม.20 ซม. 1.540.630.941.25 http://www.pongjadesada.com/article/id6.aspx

มาตรฐานวัสดุ อิฐมวลเบา

มาตรฐานวัสดุ อิฐมวลเบา
1. วัสดุก่อผนังคอนกรีตมวลเบา ขนาดตามแบบระบุ ไม่แตกหัก ไม่บิ่น ไม่มีรอยร้าว 2. ปูนก่อ สำหรับคอนกรีตมวลเบาสามารถก่อได้ประมาณ 30-36 ตารางเมตรต่อ 1 ถุง ซึ่งปูนก่อทั่ว ไป จะได้แค่ประมาณ 9 ตารางเมตรต่อ 1 ถุง (คำนวณเมื่อมีการผสมที่ ปูน 1 ส่วน : ทราย 2 ส่วน : น้ำ 1 ส่วน) 2.1 ปูนตราเสือคู่สำหรับก่ออิฐมวลเบา : ถุงสีเขียวอ่อน (ประมาณ 36 ตร.ม. ต่อ 1 ถุง) 2.2 ปูนอินทรีย์มอร์ต้าร์แม็กซ์สำหรับก่ออิฐมวลเบา : ถุงสีม่วง (ประมาณ 36 ตร.ม. ต่อ 1 ถุง) 2.3 ปูนจิงโจ้ (ประมาณ 30 ตร.ม. ต่อ 1 ถุง) 3. ปูนฉาบ ควรเลือกปูนฉาบอิฐมวลเบาหรือปูนสำเร็จฉาบทั่วไปมาใช้ เพราะจะให้ยึดเกาะที่ดีกว่า ปูนที่ต้องผสมเอง และสามารถฉาบได้บางกว่าทำให้มีต้นทุนการใช้ใกล้เคียงกว่าปูนที่ยังไม่ผสม 3.1 ปูนตราเสือคู่สำหรับอิฐมวลเบา : ถุงสีฟ้า ( 1 ถุง ผสมน้ำ 14 ลิตร ฉาบได้ประมาณ 4 ตร.ม.) 3.2 ปูนอินทรีมอร์ต้าร์แม็กซ์สำหรับอิฐมวลเบา : ถุงสีฟ้า ( 1 ถุง ผสมน้ำ 14 ลิตร ฉาบได้ ประมาณ 4 ตร.ม.) 3.3 ปูนตราเสือคู่ ปูนสำเร็จฉาบทั่วไป : ถุงสีเขียว ( 1 ถุง ผสมน้ำ 14 ลิตร ฉาบได้ประมาณ 4 ตร.ม.) 3.4 ปูนอินทรีมอร์ต้าร์แม็กซ์ ปูนฉาบทั่วไป : ถุงสีเขียวอ่อน ( 1 ถุง ผสมน้ำ 14 ลิตร ฉาบได้ ประมาณ 4 ตร.ม.) เพื่อให้มั่นใจว่าอิฐมวลเบา จะมีคุณภาพที่ดี และได้มาตรฐานเดียวกันกับทั่วโลกที่ผลิตจากลิขสิทธิ์ของ HEBEL Technology ทุกขั้นตอนในกระบวนการผลิตจึงมีระบบตรวจสอบ และควบคุมคุณภาพ ตามมาตรฐานเยอรมัน รวมทั้งมาตรฐานอุตสาหกรรมของไทย เริ่มตั้งแต่การทดสอบคุณภาพวัตถุดิบที่จะนำมาใช้งาน ตลอดจนขั้นตอนสุดท้าย อิฐมวลเบา จะถูกนำมาตรวจสอบคุณสมบัติที่สำคัญ เช่น แรงกด, น้ำหนักเมื่อแห้ง เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อย้ำความมั่นใจในคุณภาพของอิฐมวลเบา ด้วยคุณภาพที่ได้มาตรฐานระดับสากล ทำให้ผลิตภัณฑ์อิฐมวลเบา ได้รับการรับรองเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม จากสำนักมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือ สมอ. กระทรวงอุตสาหกรรม มอก. 1505-2541 : ชิ้นส่วนคอนกรีตมวลเบาแบบมีฟองอากาศ-อบไอน้ำ มาตรฐานมอก. 1505-2541 ชั้นคุณภาพ 2 ชนิด 0.5 เป็นวัสดุใช้สำหรับก่อผนังเพื่อแบ่งกั้นพื้นที่ระหว่างห้องหรืออาคาร ใช้งานได้ทั้งผนังภายนอก และภายใน ขนาดมิติเที่ยงตรงแน่นอน ผิดพลาดเพียง 2 มม. เท่านั้น ใช้งานด้วยวิธีก่อบางด้วยปูนกาวหนาเพียง 2-3 มม. มีหลายความหนาให้เลือกใช้ บรรจุและลำเลียงขนส่งด้วยพาเลทไม้จึงสะดวก รวดเร็ว เสียหายน้อย ความหนา(ซม.) กว้างxยาว(ซม.) ก้อน/ตร.ม. กิโลกรัม/ตร.ม. ก้อน/พาเลท ตร.ม./พาเลท 7.5 20x60 8.33 46.5 200 24.0 10 20x60 8.33 63.0 150 18.0 12.5 20x60 8.33 77.5 125 15.0 15 20x60 8.33 93.0 100 12.0 20 20x60 8.33 124.0 70 8.4 25 20x60 8.33 155.0 60 7.2 ที่มา http://www.pongjadesada.com/article/id6.aspx

ส่วนประกอบของอิฐมวลเบา

ส่วนประกอบของอิฐมวลเบา วัตถุดิบที่สำคัญที่ใช้ในการผลิตคอนกรีตมวลเบาประกอบด้วยปูนซีเมนต์ ทราย ปูนขาว ชีเมนต์ ยิปชั่ม สารกระจายฟองอากาศ และ ผ่านการผสมด้วยสูตรพิเศษเฉพาะตัว สัดส่วนในการผสม อิฐมวลเบา ทรายละเอียด (สัดส่วน 50%) ยิปซั่ม (สัดส่วน9%) ปูนขาว (สัดส่วน 9%) ซีเมนต์ (สัดส่วน 30%) ผงอลูมิเนียม (สัดส่วน 2%) และ ถูกทำให้แข็งด้วยการอบไอน้ำภายใต้ความดัน และ อุณหภูมิประมาณ 180 องศาเซลเซียสมีฟองอากาศมากประมาณ 75% ทำให้เบา(ลอยน้ำได้) ฟองอากาศเป็น closed cell ไม่ดูดซึมน้ำ(ดูดซึมน้ำน้อยกว่าอิฐมอญ 4 เท่า) ความเบาก็จะทำให้ประหยัดโครงสร้างและสานเคมีที่กระจายอย่างสม่ำเสมอในเนื้อวัสดุ ผ่านการอบไอน้ำ ภายใต้อุณหภูมิและความดันที่เหมาะสม ด้วยเครื่องจักรที่ได้มาตรฐานจากเยอรมันนี ที่มาจาก vcharkarn.com โดยคุณ เด็กช่างอ่ะ

กรรมวิธีการผลิตอิฐมวลเบา

กรรมวิธีการผลิตอิฐมวลเบา อิฐมวลเบาเป็นผลิตภัณฑ์คอนกรีตชนิดใหม่ ผลิตจากวัตถุดิบธรรมชาติได้แก่ ปูนซิเมนต์ปอร์ดแลนด์ ทราย ปูนขาว ยิบซั่ม น้ำ และสารกระจายฟองอากาศส่วนผสมพิเศษในอัตราส่วนที่เป็นสูตรเฉพาะตัว ซึ่งผู้ผลิตหลายรายใช้ระบบ AAC (Autoclaved Aerated Concrete) การผลิตส่วนใหญ่เป็นการนำเทคโนโลยีและเครื่องจักรที่นำเข้าจากต่าง ประเทศอาทิเช่น เยอรมนี ออสเตรเลีย ฯ ผลิตภัณฑ์คอนกรีตมวลเบาเป็นวัสดุก่อสร้างยุคใหม่ที่มุ่งเน้นให้เกิด ประโยชน์สูงสุดจากการนำไปใช้งานทุกด้าน ด้วยคุณสมบัติพิเศษ คือ ตัววัสดุมีน้ำหนักเบา ขนาดก้อนได้มาตรฐานเท่ากันทุกก้อน อิฐมวลเบา มีมากมายหลายประเภท หากมองเพียงภายนอกอาจแทบไม่แตกต่างกัน แต่แท้ จริงแล้วอิฐมวลเบาที่ใช้วัตถุดิบ และกระบวนการผลิตที่ต่างกันจะทำให้คุณสมบัติของอิฐมวลเบา แตกต่างกันด้วย อิฐมวลเบาโดยทั่วไปอาจแบ่งตามกระบวนการผลิตได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้ 1 ระบบที่ไม่ผ่านกระบวนการอบไอน้ำภายใต้ความดันสูง (Non - Autoclaved System) ซึ่งจะแบ่งย่อยออกได้อีกเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทที่ 1 ใช้วัสดุเบากว่ามาทดแทน เช่น ขี้เลื่อย ขี้เถ้า ชานอ้อย หรือเม็ดโฟมทำให้ คอนกรีตมีน้ำหนักที่เบาขึ้น แต่จะมีอายุการใช้งานที่สั้นเสื่อมสภาพได้เร็ว และหากเกิดไฟ ไหม้สารเหล่านี้อาจเป็นพิษต่อผู้อยู่อาศัย ประเภทที 2 ใช้สารเคมี (Circular Lightweight Concrete) เพื่อให้เนื้อคอนกรีตฟู และทิ้งให้ แข็งตัว คอนกรีตประเภทนี้จะมีการหดตัวมากกว่า ทำให้ปูนฉาบแตกร้าวได้ง่าย ไม่ค่อยแข็งแรง คอนกรีตที่ไม่ผ่านกระบวนการอบไอน้ำภายใต้ความดันสูงนี้ส่วนใหญ่เนื้อผลิตภัณฑ์มักจะมีสี เป็นสีปูนซีเมนต์ คอนกรีตประเภทนี้จะมีการหดตัวมากกว่า ทำให้ปูนฉาบแตกร้าวได้ง่าย ไม่ค่อยแข็งแรงต่างจากคอนกรีตที่ผ่านกระบวนการอบไอน้ำภายใต้ความดันสูงซึ่งจะมีเนื้อผลิตภัณฑ์เป็นผลึกสีขาว สำหรับขั้นตอนการผลิตแบบไม่ผ่านการอบไอน้ำภายใต้ความดันสูง 1 .นำวัสดุที่เตรียมไว้มาร่อนด้วยตะแกรงคัดขนาด เอาส่วนหยาบออก ให้เหลือแต่ส่วนละเอียด 2. คลุกเคล้าส่วนผสมให้สม่ำเสมอเป็นเนื้อเดียวกัน 3. นำวัสดุแต่ละชนิดที่เตรียมไว้ ทยอยเทลงในเครื่องผสม เพื่อคลุกเคล้าให้ส่วนผสมทั้งหมดกระจายตัวเข้ากันดี จากนั้น เติมน้ำแปรรูปพิเศษลงไปคลุกเคล้าเป็นลำดับสุดท้าย คลุกเคล้าต่อไปกระทั่งส่วนผสมรวมกันเป็นเนื้อเดียวดีแล้ว 4. วัสดุผสมที่ได้ก็พร้อมนำไปอัดรูป เป็นอิฐตามขนาดที่ต้องการก่อน 5. นำไปอัดพิมพ์ควรสังเกตด้วยว่าส่วนผสมนั้น มีความชื้นพอเหมาะดีหรือไม่ หากแห้งเกินไป เมื่ออัดพิมพ์แล้วอาจแตกร้าวได้ จำเป็นต้องปรับส่วนผสมใหม่ให้มีความชื้นพอเหมาะ คลุกเคล้าส่วน ผสมด้วยเครื่องผสม 6. กรอกส่วนผสมลงแม่พิมพ์ให้มากพอทยอยกรอกส่วนผสมลงแม่พิมพ์ พร้อมๆกับใช้มืออัดส่วนผสมให้แน่น และให้ส่วนผสมนั้นพูนล้นแม่พิมพ์เล็กน้อย จึงอัดพิมพ์ เพื่อให้ได้มวลอิฐที่แน่น ไม่แตกร้าวเมื่อถอดพิมพ์อัดส่วนผสมในพิมพ์ให้แน่น อัดพิมพ์เป็นขั้นตอนสุดท้าย 7.หลังจากถอดแบบพิมพ์ ให้ผึ่งลมทิ้งไว้ ประมาณ 3 วัน อิฐมวลเบาที่ได้จะแห้งสนิทสามารถ นำไปใช้งานได้ แต่ถ้ามีแสงแดดจัด โดยเฉพาะช่วงถอดพิมพ์ หากนำไปผึ่งแดดจะช่วยให้อิฐแห้ง เร็วขึ้นอิฐมวล นี้ใช้ระยะเวลาผึ่งให้แห้งสั้นกว่าอิฐที่ทำจากซีเมนต์ ซึ่งต้องใช้เวลาผึ่งนานถึง7 วัน ทั้งมีขั้นตอน และกรรมวิธีในการบ่มซับซ้อนกว่าแต่มีข้อพึงระวังระหว่างผึ่งอิฐ ต้องระมัดระวังมิให้ถูกฝน หรือน้ำมิฉะนั้นอาจเกิดความเสียหายได้เนื่องจากขณะที่อิฐมวลเบาแปรรูปยังไม่แห้งตัวจะละลายไปกับน้ำนั่นเอง 2 ระบบอบไอน้ำภายใต้ความดันสูง (Autoclaved System) ซึ่งแบ่งตามวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตได้เป็น 2 ประเภท คือ ประเภทที่ 1 Lime Base ใช้ปูนขาว ซึ่งควบคุมคุณภาพได้ยาก มาเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิต ทำให้คุณภาพคอนกรีตที่ได้ไม่ค่อยสม่ำเสมอ มีการดูดซึมน้ำมากกว่า ประเภทที่ 2 Cement Base ใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ประเภท 1 เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิต เป็นระบบที่นอกจากจะช่วยให้คอนกรีต มีคุณภาพได้มาตรฐานสม่ำเสมอแล้ว ยังช่วยให้เกิดการตกผลึก (Calcium Silicate) ในเนื้อคอนกรีตทำให้คอนกรีตมีความแข็งแกร่ง ทนทาน กว่าการผลิตในระบบอื่นมาก สำหรับขั้นตอนการผลิตแบบผ่านการอบไอน้ำภายใต้ความดันสูง 1. นำวัตถุดิบหลักคือทรายมาบดด้วยเครื่องบด บดผสมกับน้ำ 2. นำวัตถุดิบที่ใช้ในกรรมวิธีทำอิฐมวลรวมเบา (ปูนขาว, ผงอลูมิเนียม, ทราย, ซีเมนต์, ยิบซั่ม) ผสมเข้ากันตามอัตราส่วน โดยส่วนผสมหลักคือทราย และซีเมนต์ ตามลำดับ ด้วยเครื่องผสม) การผสม (Mixing) โดยนำทรายและยิบซั่มมาผสมกันก่อนในขณะเดียวกันปูนขาวผสมกับซีเมนต์จากนั้นจึงนำทั้งหมดมาผสมกัน และจึงผสมกับอลูมิเนียม 3. เทเข้าแม่พิมพ์ 4. นำเข้าห้องบ่มเพื่อให้เกิดปฏิกริยา เป็นฟองอากาศและฟูขึ้นมา 5. นำเข้าเครื่องตัด CUTTING MACHINES (M203) และเครื่องทำโครงตาข่าย 6. นำผ่านเข้าเครื่องอบ Over Dryer (M 114) โดยสายพานลำเลียง CONVEYOR SYSTEM (M122) 7. ตรวจสอบ QC 8. บรรจุ โดยทุกขั้นตอนการผลิตมีการใช้คอมพิวเตอร์ทั้งกระบวนการผลิต ที่มาจาก vcharkarn.com โดยคุณ เด็กช่างอ่ะ

การใช้งาน

การใช้งาน อิฐมวลเบา เป็นวัสดุก่อผนังมาตรฐานใหม่ ที่นำเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัย มาผลิตเป็น “วัสดุก่อผนังมวลเบา” มีลักษณะเป็นคอนกรีตก้อนตันที่มีมวลเบากว่าคอนกรีตทั่วไป และตัวก้อนจะมีฟองอากาศขนาดเล็ก แบบปิดไม่ต่อเนื่องกระจายอย่างสม่ำเสมอในเนื้อคอนกรีต และทำให้ใช้ก่อผนังด้วยวิธีก่อบาง 2-3 มม. ร่วมกับปูนก่อและปูนฉาบอิฐมวลเบาโดยเฉพาะ ซึ่งมีขนาดตามมาตรฐาน กว้าง 20 ซม. ยาว 60 ซม. และมีความหนา 7.5, 10, 12.5, 15, 20, 25 ซม. วิธีการก่อผนังอิฐมวลเบา เครื่องมือที่ใช้ในการติดตั้ง แบ่งได้ 2 ประเภท เครื่องมือทั่วไป เครื่องมือเฉพาะ เครื่องมือเฉพาะที่ใช้ในการก่ออิฐมวลเบา ประกอบไปด้วย เกรียงก่ออิฐมวลเบา แผ่นเหล็กยึดแรงหัวปั่นปูน เลื่อยตัดอิฐมวลเบา เหล็กขูดเซาะร่อง เกรียงฟันปลา ค้อนยาง ตามรูปด้านบน ซึ่งอุปกรณ์เฉพาะจะทำให้ผนัง อิฐมวลเบามีความแข็งแรง ประหยัดต้นทุนของวัสดุสิ้นเปลืองต่างๆ และช่วยให้งานเสร็จรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยรายละเอียดการใช้งานของแต่ละอุปกรณ์สามารถศึกษาและอ่านข้อมูลได้จาก ขั้นตอนและข้อแนะนำในการก่อ สัดส่วนการผสมปูน 1. ผสมปูนก่ออิฐมวลเบา เสือคู่ ในสัดส่วน 1 ถุง ต่อ น้ำสะอาดประมาณ 14-15 ลิต ผสมให้เข้ากันด้วยหัวปั่นปูนที่ต่อเข้ากับสว่านไฟฟ้า 2-3 นาที ให้เข้ากันเป็นอย่างดี ควรผสมแค่พอใช้เท่านั้นและควรใช้ให้หมดภายใน 2 ชม. 2. ผสมปูนฉาบอิฐมวลเบา เสือคู่ในสัดส่วน 1 ถุง ต่อ น้ำสะอาดประมาณ 10-12 ลิตร ผสมให้เข้ากันด้วยโม่ผสมปูน ให้เข้ากันเป็นอย่างดี ควรผสมแค่พอใช้เท่านั้น และควรใช้ให้หมดภายใน 2 ชม. ข้อแนะนำ: หลังจากผสมแล้วไม่ควรนำปูนที่ทิ้งไว้จนแห้งตัว มาผสมน้ำเพิ่ม แล้วใช้งานต่อ เพราะจะทำให้การรับกำลังของปูนลดน้อยลง เป็นผลทำให้โครงสร้างไม่แข็งแรง
การก่อ 1. ก่อนทำการก่อต้องตรวจดูแบบก่อนเสมอ สำหรับในบริเวณที่ทำการก่อผนังอิฐมวลเบา ที่อาจมีน้ำขัง เช่น ระเบียง ต้องทำคัน ค.ส.ล. กั้นระหว่าง ตัวก้อนอิฐมวลเบา กับ พื้น ค.ส.ล. บริเวณนั้น 2. ทำความสะอาดบริเวณที่จะทำการก่ออิฐมวลเบาซีแพคให้เรียบร้อย ทำการปรับวางแนวดิ่ง แนวฉากของการก่อ หลังจากนั้นใช้แปรงสลัดน้ำพอชุ่มในบริเวณที่จะทำการก่อ และทำความสะอาดเศษฝุ่นที่เกาะบนตัวก้อนให้เรียบร้อย โดยที่ไม่ต้องราดน้ำที่ตัวก้อน 3. เริ่มการก่อชั้นแรก โดยการใช้ปูนทรายในการปรับระดับ โดยให้มีความหนาของปูนทรายประมาณ 3-4 ซม. 4. ผสมปูนก่ออิฐมวลเบา กับน้ำสะอาด โดยใช้หัวปั่นปูน ตามคำแนะนำในหัวข้อ สัดส่วน การผสมปูน 5. ก่อก้อนแรกโดยให้ป้ายปูนก่อบริเวณด้านข้างเสาและด้านล่างก้อนด้วยเกรียงก่ออิฐมวล เบา โดยมีความหนาของปูนก่อเพียง 2-3 มม. ระหว่างตัวก้อน 6. เริ่มก่อขั้นแรก โดยใช้ค้อนยางปรับให้ได้ระดับตามแนวเอ็นที่ระดับตามแนวเอ็นที่ขึงไว้ และใช้ระดับน้ำในการช่วยจัดให้ได้ระดับ 7. ก่อก้อนที่สอง โดยใช้เกรียงก่อ ป้ายปูนก่อด้านข้างและด้านล่างของก้อน โดยให้มีความหนา 2-3 มม. และปรับระดับด้วยค้อนยางให้ได้ระดับเดียวกัน หลังจากนั้นก่อก้อนต่อไปเรื่อย ๆ ด้วยวิธีการเดิมจนครบแนวก่อชั้นแรก เมื่อจำเป็นต้องตัดตัวก้อนอิฐมวลเบา ให้วัดระยะให้พอดี และใช้เลื่อยตัดอิฐมวลเบาในการตัดตัวก้อน โดยหากตัดแล้วไม่เรียบหรือไม่ได้ฉาก ให้ใช้เกรียงฟันปลาไสแต่งตัวก้อน และถ้าต้องการขัดอย่างละเอียดเพื่อให้ตัวก้อนเรียบมากขึ้น ให้ใช้เกรียงกระดาษทรายขัดให้เรียบขึ้นได้ 8. ก่อชั้นต่อไปโดยต้องก่อในลักษณะสลับแนวระหว่างชั้น และมีการขึงแนวก่อนการก่อ โดยแนวที่เหลื่อมกันมีระยะไม่น้อยกว่า 10 ซม. แต่ละก้อนให้ป้ายปูนก่อรอบก้อน หนา 2-3 มม. ซึ่งต้องใส่ปูนก่อให้เต็มตลอดแนวและหากใช้ไม่เต็มก้อนให้ใช้เลื่อยตัดให้ได้ขนาดตามที่ต้องการ 9. ปลายก้อนที่ก่อชนเสาโครงสร้าง หรือเสาเอ็นจะต้องยึดด้วยแผ่นเหล็กยึดแรง Metal strap ที่งอฉาก ยาวประมาณ 15-20 ซม. เข้ากับโครงสร้างด้วยตะปูคอนกรีต หรือพุกสกรู ทำเช่นนี้ทุกระยะ 2 ชั้น ของก้อน 10. ก่อก้อนถัดไปด้วยวิธีการเดียวกับชั้นแรก จนจบแนวชั้นที่สอง จากนั้นก็ก่อชั้นต่อๆ ไปด้วยวิธีการเดียวกันจนแล้วเสร็จ ข้อแนะนำในการก่อ 1. มุมกำแพงทุกมุมกรณีไม่ทำเสาเอ็น ค.ส.ล. ให้ก่อประสานเข้ามุม (Interlocking) ทั้งนี้ผนังต้องมีระยะไม่เกินข้อมูลตามตารางด้านล่าง และปลายกำแพงที่ยื่นออกมาเสาเกินกว่า 1.50 ม. (ยกเว้นกรณีใช้ตัวก้อนอิฐมวลเบา หนา 7.5 ซม. ต้องทำเสาเอ็น ค.ส.ล. ทุกขนาดพื้นที่ ที่ก่อไม่เกิน 10 ตร.ม.) พื้นที่สูงสุดของผนังอิฐมวลเบา โดยไม่ต้องมีเสาเอ็น / ทับหลัง ค.ส.ล. ความสูง(เมตร) ความยาวสูงสุดของผนังโดยไม่ต้องมีเสาเอ็น / ทับหลัง ค.ส.ล. (เมตร) ความหนาอิฐมวลเบา (เซนติเมตร) 7.5 10 12.5 15 17.5 20 2.5 4.2 6.3 8.0 10.0 10.5 10.5 2.75 3.7 6.0 7.0 9.5 10.5 10.5 3 3.4 5.7 6.6 8.2 10.0 10.5 3.25 3.0 4.9 6.0 7.5 9.0 10.5 3.5 2.0 4.5 5.3 7.0 8.0 10.5 3.75 - 3.5 4.8 6.4 7.0 10.0 4 - 3.0 3.8 5.5 6.0 9.5 4.5 - 1.5 2.5 4.0 5.5 9.0 5 - - 1.5 3.2 5.0 7.5 5.5 - - - 2.5 4.0 6.0 6 - - - - 3.0 5.0 2. การก่อผนังให้ก่อชนท้องคานหรือท้องพื้นทุกแห่ง โดยเว้นช่องไว้ประมาณ 2-3 ซม. แล้วอุดปูนทรายตลอดแนวและยึดแผ่นเหล็กยึดแรงหรือ Metal strap ที่ท้องพื้นหรือท้องคานไว้ทุกระยะไม่เกิน 1.20 ม. สำหรับผนังที่ก่อสูงไม่ชนท้องคานหรือพื้นทุกแห่ง จะต้องทำทับหลัง ค.ส.ล. 3. การก่อผนังที่ชนกับท้องพื้นโครงสร้างอาคาร ซึ่งมีโอกาสแอ่นตัวลงมาได้ ตามหลักการใช้งานก่อสร้างบางประเภท เช่น พื้นระบบ Post Tension หรือโครงสร้างเหล็ก จะต้องเว้นช่องว่างที่ส่วนบนไว้ประมาณ 2.5-4 ซม. แล้วเสริมวัสดุที่มีความยืดหยุ่นตัว เช่น โฟม, แผ่นยาง หรือ Fiber Glass ปิดก่อนฉาบทับและทำการเซาะร่องตามแนวรอยต่อ ข้อแนะนำในการใช้ แผ่นเหล็กยึดแรง Metal strap กับการก่อผนังอิฐมวลเบา 1. ควรมีระยะฝังของ Metal strap ในตัวก้อนไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของความยาวก้อน 2. ใช้เหล็กขูดเซาะร่อง ขูดตัวก้อนให้มีความยาว มากกว่าความยาวของระยะผังเหล็ก Metal strap ประมาณ 1 ซม. และมีความลึกของร่องขุดประมาณ 5 มม. 3. วางแผ่นเหล็กยึดแรง Metal strap (ที่ดัดฉากแล้ว) ตามร่องที่ขูดไว้ และใช้ตะปูชนิดตอกคอนกรีต 1 นิ้ว ตอกยึด Metal strap เข้ากับตัวโครงสร้าง 4. การก่อแบบประสานมุม (Interlocking) สามารถทำได้เมื่อใช้อิฐมวลเบา หนา 10 ซม. ขึ้นไป ให้ตอกตะปู ขนาด 1 นิ้ว ยึดแผ่นเหล็ก Metal strap กับตัวก้อนอิฐมวลเบา โดยใช้ตะปู 2 ตัว ยึดหัวและท้ายแบบทแยงกัน หมายเหตุ : การติดตั้งแผ่นเหล็กยึดแรง Metal strap จะต้องติดทุกๆ ระยะ 2 ของการก่ออิฐมวลเบา วิธีการติดตั้งคานทับหลังสำเร็จรูป (Lintel) สำหรับผนังอิฐมวลเบาที่มีความหนา 10 ซม.ขึ้นไปนั้น สามารถใช้ทับหลังสำเร็จรูป แทนการหล่อทับหลัง ค.ส.ล.ได้ โดยวางทับหลังสำเร็จรูปลงบนตัวก้อนอิฐมวลเบาทั้งสองด้าน (ไม่ให้น้ำหนักถ่ายลงบนวงกบโดยตรง) โดยต้องมีระยะนั่งของบ่าทั้งสองด้านเพียงพอ ตามตาราง ทั้งนี้ขนาดมาตรฐานของคานทับหลังสำเร็จรูป มีความยาวตั้งแต่ 1.20 ม. จนถึง 3.60 ม. ทุกๆ ช่วง 0.30 ม. ความหนา 10, 12.5 และ 20 ซม. ขนาดช่องเปิด B ระยะนั่งต่ำสุด A น้อยกว่า 1.00 ม. 0.15 ม. 1.00 - 1.90 ม. 0.20 ม. 2.00 - 3.00 ม. 0.30 ม. การฝังท่อร้อยสายไฟหรือท่อประปา 1. กำหนดแนวที่ต้องการฝังท่อ โดยใช้ดินสอขีดทำเครื่องหมายลงบนผนังอิฐมวลเบา หรือใช้เต้าตีเส้น โดยมีขนาดทีใกล้เคียงกับขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางท่อ 2. ใช้มอเตอร์เจียรที่เป็นใบพัดแบบตัดคอนกรีต ตัดตามแนวที่กำหนดไว้ ให้มีความลึกเท่ากับขนาดท่อ โดยความลึกสูงสุดไม่ควรเกิน 1 ใน 3 ของความหนาของตัวก้อน 3. ใช้สิ่วตอกเพื่อแซะเนื้อของตัวก้อนอิฐมวลเบาออกตามแนวที่ได้เจียรไว้ แล้วใช้เหล็กขูดเซาะร่องขูดเก็บส่วนที่ยังมีเศษติดค้างอยู่ให้เรียบร้อย พร้อมที่จะใส่ท่อร้อยสายไฟ หรือท่อประปา
วิธีการฉาบ ผนังอิฐมวลเบา การเตรียมพื้นผิว ใช้แปรงตีน้ำหรือไม้กวาดปาดและทำความสะอาดเศษผงที่ติดอยู่บนผนังอิฐมวลเบาให้หมด และหากมีรอยแตกบิ่นให้อุดด้วยปูนก่อเสียก่อน แล้วทั้งไว้ให้แห้งก่อนที่จะทำการฉาบ จากนั้นให้ราดน้ำที่ผนังให้ชุ่มประมาณ 2 ครั้ง แล้วทิ้งให้ผนังดูดซับน้ำ จึงเริ่มขั้นตอนการฉาบผนังอิฐมวลเบา การฉาบ การฉาบผนังอิฐมวลเบา จะใช้ปูนฉาบอิฐมวลเบาตราเสือคู่ ซึ่งมีคุณสมบัติพิเศษคือ มีแรงยึดเกาะสูง เนื้อละเอียด เหนียวลื่น มีความอุ้มน้ำสูง ทำให้ไม่แตกร้าว โดยการฉาบ จะฉาบด้วยความหนาเพียง 0.5 – 1.0 ซม. เท่านั้น ไม่ควรฉาบหนาเกิน 1.5 ซม. โดยปูนหนึ่งถุงน้ำหนัก 50 กก. นั้น ใช้น้ำสะอาด 10-12 ลิตรผสม ได้พื้นที่ ฉาบประมาณ 2.8-3 ตร.ม. วิธีฉาบปูน 1. ควรฉาบให้มีความหนาปูนฉาบเพียง 0.5-1.0 ซม. ให้ทำการฉาบ 2 ชั้น ชั้นละประมาณครึ่งหนึ่งของความหนาทั้งหมด 2. เมื่อฉาบชั้นแรกแล้วให้ทิ้งไว้ให้หมาด แล้วฉาบชั้นที่สองต่อ จนได้ความหนาที่ต้องการ หลังจากนั้นแต่งผิวให้เรียบตามวิธีปกติ ข้อแนะนำในการฉาบ 1. การฉาบปูนบนผนังอิฐมวลเบา โดยฉาบเป็นชั้นเดียวแล้วตีน้ำเลยนั้น ทำได้เฉพาะกรณีที่ฉาบหนาไม่เกิน 1.5 ซม. ถ้าเกินกว่านี้ อาจส่งผลให้เกิดการแตกร้าวที่ผิว เนื่องจากการหดตัวของปูนฉาบ 2. การฉาบหนากว่า 2 ซม. ต้องแบ่งฉาบชั้นละประมาณ 1-2 ซม. และติดลวดตาข่ายระหว่างชั้นเพื่อป้องกันการแตกร้าวในกรณีหนากว่า 4 ซม. 3. ก่อนฉาบให้ติดลวดหรือพลาสติกตาข่าย ตามบริเวณมุมวงกบประตู, หน้าต่าง, รอยต่อเสา รวมถึงบริเวณที่มีการขุดเซาะร่องเพื่อฝังท่อสายไฟหรือท่อน้ำ เพื่อลดปัญหาการแตกร้าวจากการฉาบ ข้อแนะนำในการเจาะและยึดแขวนวัสดุ หลังจากทำการฉาบผนังอิฐมวลเบาเรียบร้อยแล้ว หากต้องการตอกตะปูเพื่อใช้ในการยึดแขวนวัสดุหรือของใช้ต่างๆ ให้ฝังในพุกไนล่อนหรือพุกเหล็ก ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการยึดตะปูให้แน่นได้เป็นอย่างดี แสดงรูปร่างของพุกไนล่อน UX แสดงรูปร่างของพุกไนล่อน SX แสดงรูปร่างของพุกเหล็ก FMD ที่มาจาก vcharkarn.com โดยคุณ เด็กช่างอ่ะ

ข้อดีข้อเสีย

ข้อดี การกันความร้อนได้ดี กันเสียงได้ดี การกันไฟ ได้นานกว่า 4 ชั่วโมง น้ำหนักเบาและรับแรงกดได้ดี ประหยัดพลังงาน ใช้งานง่าย และรวดเร็วกว่าอิฐทั่วไป อายุการใช้งาน ยาวนานเท่าโครงสร้างคอนกรีต ข้อเสีย 1. มีราคาแพง 2. ไม่ทนต่อความชื้น ทั้งนี้ ไม่ว่าจะใช้วัสดุคอนกรีตมวลเบา หรือ อิฐมอญ จะมีข้อดีและข้อเสีย และต้นทุนที่แตกต่างกันไป เช่น ก่อผนังด้วยอิฐมวลเบาทั้งหมดราคาค่าก่อก่อสร้างจะมีตัวเลขสูงขึ้นกว่าการก่อด้วยอิฐมอญชั้นเดียว แต่เมื่อนำอิฐมอญมาก่อผนัง 2 ชั้นราคาค่าก่อก่อสร้างกลับสูงกว่า เราจะเห็นบางโครงการจะใช้ทั้งคอนกรีตมวลเบา และอิฐมอญ สร้างบ้านหลังเดียว โดยส่วนผนังภายนอกที่ได้รับแสงแดดโดยตรง จะก่อด้วยอิฐมวลเบาหรือก่ออิฐมอญ 2 ชั้น ส่วนผนังภายในอาจจะก่อด้วยอิฐมอญชั้นเดียว หรืออิฐมวลเบาที่ความหนาน้อยกว่า เปรียบเทียบวัสดุหลายประเภท หัวข้อ / รายละเอียด อิฐมวลเบา อิฐมอญ หรืออิฐแดง ประเภทผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ คอนกรีตมวลเบาที่มีมาตรฐานสูง ผลิตภัณท์จากวัสดุคุณภาพ คัดเกรด มั่นคง แข็งแรง อายุการใช้งานยาวนาน ผลิตจากดินเหนียว ตัดให้ได้ขนาด แล้วนำเข้าเตาเผาคุณภาพไม่แน่นอน ดีบ้างไม่ดีบ้าง ขบวนการผลิต ผลิตจากเทคโนโลยีเยอรมัน ภายใต้การอบไอน้ำภายใต้ ความดันสูงจนกระทั่งเนื้อวัสดุเป็นผลึกที่แข็งแรงและเบา ทำด้วยแรงงานชาวบ้านตามชานเมืองที่มีแหล่งดินเหนียว มาตรฐานผลิตภัณฑ์ เป็นไปตาม มอก. 1505-2540 ระบุทุกประการได้รับการยอมรับในมาตรฐานสากล สินค้าในท้องตลาดส่วนใหญ่ไม่ได้มาตรฐานไม่แน่นอน แตกหักง่าย การขนส่ง และเครื่องย้าย บรรจุบนพาเลทไม้ ใช้เครื่องจักร รถโฟล์กลิฟท์ ขนส่งทีละพาเลท ขนด้วยแรงงานคนทีละก้อน มีปัญหามากในกรณีอาคารสูง และพื้นที่การกองเก็บ ราคาค่าติดตั้งต่อพื้นที่ผนัง 1 ตร.ม. อิฐมวลเบา Q-CON หนา 7.5 ซม. (โดยประมาณ) อิฐมอญ (โดยประมาณ) ค่าวัสดุ ค่าแรง รวม ค่าวัสดุ ค่าแรง รวม ค่าวัสดุ 165 0 165 70 0 70 ปูนก่อ 9 40 49 35 55 90 ปูนฉาบ 2 ด้าน 2 x 45 2 x 45 180 2 x 50 2 x 50 210 เหล็กหนวดกุ้ง 8 0 8 6 0 6 เสาเอ็น หรือทับหลัง คสล. 12 8 20 15 10 25 รวมผนังรวม 422 401 ขั้นตอนการออกแบบ - โครงสร้างอาคาร น้ำหนักเพียงครึ่งหนึ่งของอิฐมอญ (90 กก./ตร.ม.) ประหยัดจากการลดขนาดโครงสร้างอาคาร โครงสร้างขนาดใหญ่ เนื่องจากน้ำหนักมากกว่า 2 เท่า (180 กก./ตร.ม.) ขั้นตอนการก่อสร้าง - การควบคุม บริหารงานก่อสร้าง ควบคุมปริมาณวัสดุได้ จัดการอย่างเป็นระบบ ปริมาณใช้งานไม่แน่นอน ไม่เป็นระบบ - ความรวดเร็วในการติดตั้ง ก่อได้ 20-25 ตร.ม. / วัน เร็วกว่า 3-5 เท่า ต้องอาศัยความชำนาญ ก่อได้ 5-8 ตร.ม./ วัน - ขั้นตอนการก่อ ฉาบ ก่อบาง 2 มม. ฉาบบาง 1 ซม. ประหยัดวัสดุไม่แตกร้าว ก่อหนา 1.5 ซม. ฉาบหนา 2 ซม. แตกร้าวง่าย ขั้นตอนการใช้อาคาร - ประหยัดจากการลดขนาดเครื่องปรับอากาศลง 20% ประหยัดได้ประมาณ 3,000 - 9,000 บาท/เครื่อง เครื่องปรับอากาศ ต้องมีขนาดใหญ่และทำงานหนักเกือบตลอดเวลา - การประหยัดค่าไฟฟ้าจากเครื่องปรับอากาศ Q-CON ประหยัดกว่า 25% อิฐมอญไม่เป็นฉนวนและเก็บสะสมความร้อนไว้ในตัวเอง สิ้นเปลืองไฟมาก - การกันเสียง กันเสียได้ดี ไม่กันเสียง - ปลอดภัยกว่า เมื่อเกิดไฟไหม้อาคาร ทนไฟและกันได้นานกว่า 4 ชั่วโมง กันไฟได้เพียง 1 - 1.5 ซม. เท่านั้น - ค่านิยม และความทันสมัย ผลิตภัณฑ์ยุคใหม่ เพื่อผู้ใช้อาคารอย่างแท้จริง วัสดุดั่งเดิมใช้มานานกว่า 100 ปี ไม่มีการพัฒนา - อายุการใช้งาน อายุการใช้งานนานกว่า 50 ปี สั้นกว่ามาก ข้อมูลเปรียบเทียบวัสดุก่อผนังแต่ละชนิด รายการ อิฐมอญ อิฐบล็อค อิฐมวลเบา โครงสร้างบล็อก ตัน กลวง กลวง ก่อผนังเป็นผนังรับแรง ไม่ได้ ได้ ได้ จำนวนก้อนที่ใช้ต่อตารางเมตร 120-135 ก้อน 12.5 ก้อน 8.33 ก้อน น้ำหนักเฉลี่ยเฉพาะวัสดุ 130 กก./ ตร.ม. 115 กก./ ตร.ม. 50 กก./ ตร.ม. ค่าการรับแรงอัด 20-30 กก./ ตร.ซม. 10.15 กก./ ตร.ซม. 35-50 กก./ ตร.ซม. อัตราการทนไฟ (หนา 10 ซ.ม.) 2 ชม. 1 ชม. 2-4 ชม. การดูดซึมน้ำ สูง สูง ปานกลาง การสูญเสีย/แตกร้าว 15-20% 10-15% 5% ราคาวัสดุ (บาท/ตร.ม.) 80 50 285* เปรียบเทียบลักษณะคุณสมบัติอิฐมอญกับคอนกรีตมวลเบา ข้อเปรียบเทียบคุณสมบัติวัสดุ อิฐมอญ คอนกรีตมวลเบา ราคา - - โครงสร้างบล็อค ตัน กลวง ก่อผนังเป็นผนังรับแรง ไม่ได้ ได้ การดูดซึมน้ำ สูง ปานกลาง ความหนาของปูนก่อระหว่างก้อน 1.5 เซนติเมตร 2.3 มิลลิเมตร ความหนาของปูนที่ฉาบ 20-25 มิลลิเมตร 10 มิลลิเมตร น้ำหนักวัสดุ (กก./ตร.ม.) 130 45 น้ำหนักผนังรวมฉาบปูน 2 ด้าน (กก./ตร.ม.) 180 90 จำนวนใช้งานต่อ 1 ตร.ม. (ก้อน/ตร.ม.) 130 - 145 8.33 ค่ากำลังอัด ( Compressive Strength ) (กก./ตร.ซม.) 15 - 40 30 - 80 ค่าการนำความร้อน ( Thermal Conductivity ) ( วัตต์/ม.เคลวิน ) 1.15 0.13 ค่าการถ่ายเทความร้อนรวม OTTV ( วัตต์/ตร.ม. ) 58 - 70 32 - 42 อัตราการกันเสียง ( STC Rating ) ( เดซิเบล ) 38 43 อัตราการทนไฟ ( Fire Rating ) (ความหนา 10 เซนติเมตร) 2 4 ความเร็วในการก่อ ( ตร.ม./วัน ) 6-12 15-25 เปอร์เซ็นต์สูญเสีย / แตกร้าว 10 - 30 % 0 - 3 % การติดตั้งวงกบประตู-หน้าต่าง หล่อเสาเอ็นทับหลังและต้องมีค้ำยัน ไม่ต้องเททับหลังและไม่ต้องมีค้ำยัน ที่มาจาก vcharkarn.com โดยคุณ เด็กช่างอ่ะ

แนวโน้มการแข่งขันราคา

อิฐมวลเบา ถือได้ว่าเป็นวัสดุก่อสร้างชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันเป็นอย่างมาก อิฐมวลเบาเป็น ผลิตภัณฑ์ที่สามารถใช้ทดแทนอิฐมอญ อิฐบล็อก และแผ่นพื้นสำเร็จรูป แบบชนิดดั้งเดิมได้เป็นอย่างดี สภาพธุรกิจการก่อสร้าง รวมไปถึงร้านขายอิฐมวลเบา หรือผู้ผลิตอิฐมวลเบายังเอื้อประโยชน์ต่อการเติบโตขึ้น เนื่องจากปี พ.ศ.2548 ธุรกิจอิฐมวลเบาเกิดอัตราการขยายตัวร้อยละ 15.2 บวกกับแรงผลักดันทั้งทางภาครัฐและเอกชน การก่อสร้างอาคารสูง เช่น คอนโดมิเนียม อาคารสำนักงาน โรงแรม โรงพยาบาล และบ้านเรือน ที่อยู่อาศัย จึงทำให้ตลาดการซื้อขายอิฐมวลเบาเติบโตได้ดี อิฐมวลเบามีกรรมวิธีการผลิตจากวัตถุดิบธรรมชาติ ได้แก่ ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ทราย ปูนขาว ยิมซั่ม น้ำ และสารกระจายฟองอากาศ ถึงแม้ราคาอิฐมวลเบา จะมีราคาแพงกว่าอิฐมอญ และคอนกรีตบล็อคทั่วไป แต่มีคุณสมบัติเด่นพิเศษที่ดีกว่าคือมีน้ำหนักเบา ขนาดมาตรฐานเท่ากันทุกก้อน สามารถทนไฟ ป้องกันความร้อน ป้องกันเสียง สามารถใช้ตัดตกแต่งให้เข้ารูปในการใช้งานได้ง่าย ไม่มีเศษเป็นอิฐหัก ซึ่งช่วยลดระยะเวลาในการก่อสร้างและลดต้นทุนโครงสร้างของทั้งผู้สร้างบ้าน และผู้รับเหมาก่อสร้าง ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานไฟฟ้า และทำให้ผู้อยู่รู้สึกเย็นสบาย ไม่ร้อนอบอ้าว ปัจจุบันราคาจำหน่ายอิฐมวลเบาใน ตลาดอยู่ในระดับตารางเมตรละ 130–140 บาท เทียบกับ 180–200 บาทต่อตารางเมตร ในช่วงก่อนหน้า ขณะที่ผู้ผลิตรายใหม่จะต้องเผชิญกับปัญหาการแข่งขันราคา เนื่องจากสินค้ายังไม่เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคเท่าใดนัก ซึ่งคาดว่าการแข่งขันราคาจะมีมากขึ้นในช่วงปลายปี 2548

ปัญหา

มี ปัญหาเรื่องฉาบแล้วร้าวเหมือนกัน แล้วก็ไม่ได้กันน้ำซึมเหมือนกับที่โฆษณาไว้ แต่เชื่อว่าคงป้องกันความร้อนได้ดีกว่าอิฐมอญธรรมดา แต่การฉาบแล้วร้าวเป็นปัญหาถาวรของช่างปูนในปัจจุบัน ทำผนังก่ออิฐฉาบปูนธรรมดาๆ ยังร้าวเต็มไปหมดเลย ทุบก็แก้ไม่หาย 1. ราคาจริงบอกไม่ได้เลยครับตอนนี้ เพราะบางครั้งก็แพง บางครั้งก็ถูกเหลือเชื่อ อยู่ที่ว่าเราจะ "หมู" แค่ไหนในการติดต่อแต่ละครั้งครับ 2. มาตรฐานของอิฐแต่ละชุดต้องระวัง เพราะบางครั้งก็ดีอย่างที่โฆษณาเอาไว้ บางครั้งแค่จุ่มโดนน้ำ น้ำก็ซึมไหลโกร๊กแล้ว ถามทางตัวแทนไป เขาก็บอกว่ารุ่นนี้มีฟองอากาศมากหน่อย มีเนื้ออิฐน้อยหน่อย เพราะต้องการลดราคา ทำให้ฟองอากาศมันต่อกัน น้ำเลยเข้าง่าย เขาบอกว่าอิฐแบบนี้น่าจะใช้กับผนังภายใน (แต่เขาลืมบอกล่วงหน้า ....) 3. การฉาบปูนทับลงไปต้องระวังอย่างยิ่ง บางเจ้าก็โฆษณาว่าเป็น Fiber Cement ซึ่งทำให้มีแรงยึดเกาะดีกว่า แต่พอฉาบแล้วร้าว ถามไปที่เขา เขาก็ตอบกลับมาอย่างไม่รับผิดชอบใดๆเลย (เสียดายที่คนตอบไม่ได้เป็นสถาปนิกหรือวิศวกร ไม่ยังงั้นผมฟ้องอาญา ๒๒๗ และร้องเรียนให้ถอนใบอนุญาตไปแล้ว) เรื่องปูนฉาบทราบมาว่า Super block เลิกขาย เพราะต้นทุนสูง ส่วน Q-con ระบุว่าสามารถใช้ปูนฉาบทั่วไปทดแทนได้ (แต่ไม่แนะนำอย่างยิ่ง) 4. เรื่องฉาบนี้บางเจ้าก็ต้องการขายแต่อิฐ ใครใคร่ใช้อะไรฉาบก็ฉาบไปเลย พอช่างที่ไม่รู้เรื่องฉาบเข้าไปโดยไม่เตรียมผิวให้เหมาะสม ก็ร้าวทั้งหลังอีกนั่นแหละ ถามไปที่บริษัท เขาก็บอกว่าเขาขายแต่อิฐ ไม่ได้ขายปูนฉาบ 5. หากมีช่างที่เข้าใจการก่อสร้าง การใช้อิฐมวลเบาจะทำงานได้รวดเร็วและเรียบร้อยมาก ถ้าคิดถึงภาพรวมของวิธีกรรมการก่อสร้าง คิดถึงค่าเก็บขยะ การจ่ายชำระเงิน การเก็บ ความสูญเสียน้อย โดยไม่รวมความเบาที่อาจจะทำให้โครงสร้างเล็กลง ....งบประมาณที่ใช้อิฐมวลเบา มักจะถูกกว่าอิฐมอญ 6. ทั้ง Q-Con และ Supper Block ต่างก็ไม่ทนความชื้นเหมือนที่โฆษาเอาไว้ แต่ก็ทนได้ดีกว่าอิฐมอญ หรือคอนกรีตบล๊อค 7. เวลาเข้าอยู่จริง จะตอกตะปูแขวนรูป หรือของ จะตอกไม่ได้ เพราะมันจะร่วน ต้องใช้พุก หรือ bolt เจาะเข้าไปก่อน ทำให้ยุ่งยาก ที่มา http://www.abhakara.com/webboard/index.php?topic=335.0

เปรียบเทียบคุณสมบัติ ใช้อิฐมอญ-อิฐมวลเบา

คุณภาพบ้านจะดีหรือไม่ดี สามารถประหยัดพลังงานได้มากน้อยแค่ไหน ไม่ได้ขึ้นอยู่กับวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างเพียงอย่างเดียว แต่ยังขึ้นอยู่กับวิธีการก่อสร้าง ความชำนาญงานของช่าง เมื่อเปรียบเทียบคุณสมบัติ คุณภาพของบ้าน ที่สร้างด้วยอิฐมวลเบา และอิฐมอญก่อ 2 ชั้น (มีช่องว่างตรงกลาง) แยกเป็นประเด็นได้ดังนี้ (ดูตารางประกอบ) คุณสมบัติทางกายภาพ อิฐมวลเบา หนา 10 เซนติเมตร เมื่อรวมน้ำหนักวัสดุรวมปูนฉาบจะหนัก 120กิโลกรัม ในขณะที่อิฐมอญก่อ 2 ชั้น (เว้นช่องว่างตรงกลาง) จะหนัก 180 กิโลกรัม ซึ่งน้ำหนักของการก่ออิฐมอญจะมากกว่าทำให้ต้องเตรียมโครงสร้างเผื่อกันรับน้ำหนักในส่วนนี้ด้วย ทำให้ต้นทุนโครงสร้างเพิ่มขึ้น การกันความร้อน หากเป็นกรณีปกติ “อิฐมวลเบา”จะมีค่าการนำความร้อนที่ต่ำกว่าอิฐมอญประมาณ 8-11 เท่า แต่การก่อผนังภายนอกอิฐจะต้องมีความหนา 10 เซนติเมตร และผนังภายในหนา 7 เซนติเมตร ขึ้นไป จึงจะสามารถกันความร้อนได้ดี แต่ในกรณีใช้อิฐมอญก่อ 2 ชั้น ตัวช่องว่างตรงกลาง จะทำหน้าที่เป็นฉนวนกันความร้อนที่ดี และอิฐแถวด้านในไม่สัมผัสความร้อนโดยตรง จึงทำให้คุณสมบัติตรงนี้ของอิฐมอญจะมีความสามารถในการกันความร้อนได้ดีกว่า แต่การเว้นช่องว่างไม่ควรต่ำกว่า 5 เซนติเมตร การกันเสียง ปกติอิฐมวลเบาจะกันเสียงได้ดีกว่าอิฐมอญประมาณ 20% แต่ในกรณีใช้อิฐมอญก่อ 2 ชั้น ช่องว่างตรงกลางจะทำหน้าเป็นฉนวนกันเสียงได้ดีกว่าเกือบ 2 เท่า แต่อิฐมวลเบาจะลดการสะท้อนของเสียงได้ดีกว่า การกันไฟ อิฐมอญก่อ 2 ชั้นมีฉนวนตรงกลาง (ช่องว่างตรงกลาง) จะกันไฟได้ดีกว่าอิฐมวลเบาเล็กน้อย ความแข็งแรง การใช้งานทั่วไปไม่ต่างกัน แต่ผนังอิฐมอญจะเหมาะสำหรับการใช้วัสดุกรุผนังที่มีน้ำหนักมาก เช่น หินแกรนิต หรือหินอ่อน การก่อสร้าง ความเรียบร้อยของการก่ออิฐมอญจะขึ้นอยู่กับฝีมือในการก่อให้ได้แนวดิ่งของช่างก่อ หากก่อไม่ได้แนวดิ่งและการฉาบความหนาของปูนไม่สม่ำเสมอ อาจจะทำให้ปูนฉาบเกิดการแตกร้าวได้ ใช้เวลาก่อนานกว่าเนื่องจากมีขนาดเล็ก รวมถึงขั้นตอนการเตรียมและจัดเก็บวัสดุซึ่งเป็นสาเหตุของการสูญเสียวัสดุจากการก่อสร้างไปมากพอสมควร ในขณะที่อิฐมวลเบาการสูญเสียวัสดุจะน้อยกว่า เพราะขั้นตอนการทำงานง่ายกว่า และวัสดุมีขนาดใหญ่แต่ละก้อนได้มาตรฐานเดียวกัน มีน้ำหนักเบาทำให้ก่อสร้างได้รวดเร็วและเรียบร้อยกว่า ราคาวัสดุและค่าแรง เมื่อเทียบราคาวัสดุบวกค่าแรงต่อตารางเมตร อิฐมวลเบาหนา 10 เซนติเมตร ราคาเฉลี่ยประมาณ 360-400 บาท/ตารางเมตร ส่วนอิฐมอญก่อ 2 ชั้น (เว้นช่องว่างตรงกลาง) ราคาจะอยู่ที่ประมาณ 400-420 บาท/ตารางเมตร นอกจากนี้การก่ออิฐมอญ 2 ชั้น หากก่อกินพื้นที่ด้านในมาก จะทำให้พื้นที่ใช้สอยภายในบ้านลดลง แต่ปกติโดยทั่วไปช่างจะก่อเต็มหน้าเสา ทั้งนี้ ไม่ว่าจะใช้วัสดุคอนกรีตมวลเบา หรือ อิฐมอญ จะมีข้อดีและข้อด้อย และต้นทุนที่แตกต่างกันไป เช่น ก่อผนังด้วยอิฐมวลเบาทั้งหมดราคาค่าก่อก่อสร้างจะมีตัวเลขสูงขึ้นกว่าการก่อด้วยอิฐมอญชั้นเดียว แต่เมื่อนำอิฐมอญมาก่อผนัง 2 ชั้นราคาค่าก่อก่อสร้างกลับสูงกว่า เราจะเห็นบางโครงการจะใช้ทั้งคอนกรีตมวลเบา และอิฐมอญ สร้างบ้านหลังเดียว โดยส่วนผนังภายนอกที่ได้รับแสงแดดโดยตรง จะก่อด้วยอิฐมวลเบาหรือก่ออิฐมอญ 2 ชั้น ส่วนผนังภายในอาจจะก่อด้วยอิฐมอญชั้นเดียว หรืออิฐมวลเบาที่ความหนาน้อยกว่า ที่มา http://www.nucifer.com/2012/03/18/block/