วันพฤหัสบดีที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2555

การใช้งาน

การใช้งาน อิฐมวลเบา เป็นวัสดุก่อผนังมาตรฐานใหม่ ที่นำเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัย มาผลิตเป็น “วัสดุก่อผนังมวลเบา” มีลักษณะเป็นคอนกรีตก้อนตันที่มีมวลเบากว่าคอนกรีตทั่วไป และตัวก้อนจะมีฟองอากาศขนาดเล็ก แบบปิดไม่ต่อเนื่องกระจายอย่างสม่ำเสมอในเนื้อคอนกรีต และทำให้ใช้ก่อผนังด้วยวิธีก่อบาง 2-3 มม. ร่วมกับปูนก่อและปูนฉาบอิฐมวลเบาโดยเฉพาะ ซึ่งมีขนาดตามมาตรฐาน กว้าง 20 ซม. ยาว 60 ซม. และมีความหนา 7.5, 10, 12.5, 15, 20, 25 ซม. วิธีการก่อผนังอิฐมวลเบา เครื่องมือที่ใช้ในการติดตั้ง แบ่งได้ 2 ประเภท เครื่องมือทั่วไป เครื่องมือเฉพาะ เครื่องมือเฉพาะที่ใช้ในการก่ออิฐมวลเบา ประกอบไปด้วย เกรียงก่ออิฐมวลเบา แผ่นเหล็กยึดแรงหัวปั่นปูน เลื่อยตัดอิฐมวลเบา เหล็กขูดเซาะร่อง เกรียงฟันปลา ค้อนยาง ตามรูปด้านบน ซึ่งอุปกรณ์เฉพาะจะทำให้ผนัง อิฐมวลเบามีความแข็งแรง ประหยัดต้นทุนของวัสดุสิ้นเปลืองต่างๆ และช่วยให้งานเสร็จรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยรายละเอียดการใช้งานของแต่ละอุปกรณ์สามารถศึกษาและอ่านข้อมูลได้จาก ขั้นตอนและข้อแนะนำในการก่อ สัดส่วนการผสมปูน 1. ผสมปูนก่ออิฐมวลเบา เสือคู่ ในสัดส่วน 1 ถุง ต่อ น้ำสะอาดประมาณ 14-15 ลิต ผสมให้เข้ากันด้วยหัวปั่นปูนที่ต่อเข้ากับสว่านไฟฟ้า 2-3 นาที ให้เข้ากันเป็นอย่างดี ควรผสมแค่พอใช้เท่านั้นและควรใช้ให้หมดภายใน 2 ชม. 2. ผสมปูนฉาบอิฐมวลเบา เสือคู่ในสัดส่วน 1 ถุง ต่อ น้ำสะอาดประมาณ 10-12 ลิตร ผสมให้เข้ากันด้วยโม่ผสมปูน ให้เข้ากันเป็นอย่างดี ควรผสมแค่พอใช้เท่านั้น และควรใช้ให้หมดภายใน 2 ชม. ข้อแนะนำ: หลังจากผสมแล้วไม่ควรนำปูนที่ทิ้งไว้จนแห้งตัว มาผสมน้ำเพิ่ม แล้วใช้งานต่อ เพราะจะทำให้การรับกำลังของปูนลดน้อยลง เป็นผลทำให้โครงสร้างไม่แข็งแรง
การก่อ 1. ก่อนทำการก่อต้องตรวจดูแบบก่อนเสมอ สำหรับในบริเวณที่ทำการก่อผนังอิฐมวลเบา ที่อาจมีน้ำขัง เช่น ระเบียง ต้องทำคัน ค.ส.ล. กั้นระหว่าง ตัวก้อนอิฐมวลเบา กับ พื้น ค.ส.ล. บริเวณนั้น 2. ทำความสะอาดบริเวณที่จะทำการก่ออิฐมวลเบาซีแพคให้เรียบร้อย ทำการปรับวางแนวดิ่ง แนวฉากของการก่อ หลังจากนั้นใช้แปรงสลัดน้ำพอชุ่มในบริเวณที่จะทำการก่อ และทำความสะอาดเศษฝุ่นที่เกาะบนตัวก้อนให้เรียบร้อย โดยที่ไม่ต้องราดน้ำที่ตัวก้อน 3. เริ่มการก่อชั้นแรก โดยการใช้ปูนทรายในการปรับระดับ โดยให้มีความหนาของปูนทรายประมาณ 3-4 ซม. 4. ผสมปูนก่ออิฐมวลเบา กับน้ำสะอาด โดยใช้หัวปั่นปูน ตามคำแนะนำในหัวข้อ สัดส่วน การผสมปูน 5. ก่อก้อนแรกโดยให้ป้ายปูนก่อบริเวณด้านข้างเสาและด้านล่างก้อนด้วยเกรียงก่ออิฐมวล เบา โดยมีความหนาของปูนก่อเพียง 2-3 มม. ระหว่างตัวก้อน 6. เริ่มก่อขั้นแรก โดยใช้ค้อนยางปรับให้ได้ระดับตามแนวเอ็นที่ระดับตามแนวเอ็นที่ขึงไว้ และใช้ระดับน้ำในการช่วยจัดให้ได้ระดับ 7. ก่อก้อนที่สอง โดยใช้เกรียงก่อ ป้ายปูนก่อด้านข้างและด้านล่างของก้อน โดยให้มีความหนา 2-3 มม. และปรับระดับด้วยค้อนยางให้ได้ระดับเดียวกัน หลังจากนั้นก่อก้อนต่อไปเรื่อย ๆ ด้วยวิธีการเดิมจนครบแนวก่อชั้นแรก เมื่อจำเป็นต้องตัดตัวก้อนอิฐมวลเบา ให้วัดระยะให้พอดี และใช้เลื่อยตัดอิฐมวลเบาในการตัดตัวก้อน โดยหากตัดแล้วไม่เรียบหรือไม่ได้ฉาก ให้ใช้เกรียงฟันปลาไสแต่งตัวก้อน และถ้าต้องการขัดอย่างละเอียดเพื่อให้ตัวก้อนเรียบมากขึ้น ให้ใช้เกรียงกระดาษทรายขัดให้เรียบขึ้นได้ 8. ก่อชั้นต่อไปโดยต้องก่อในลักษณะสลับแนวระหว่างชั้น และมีการขึงแนวก่อนการก่อ โดยแนวที่เหลื่อมกันมีระยะไม่น้อยกว่า 10 ซม. แต่ละก้อนให้ป้ายปูนก่อรอบก้อน หนา 2-3 มม. ซึ่งต้องใส่ปูนก่อให้เต็มตลอดแนวและหากใช้ไม่เต็มก้อนให้ใช้เลื่อยตัดให้ได้ขนาดตามที่ต้องการ 9. ปลายก้อนที่ก่อชนเสาโครงสร้าง หรือเสาเอ็นจะต้องยึดด้วยแผ่นเหล็กยึดแรง Metal strap ที่งอฉาก ยาวประมาณ 15-20 ซม. เข้ากับโครงสร้างด้วยตะปูคอนกรีต หรือพุกสกรู ทำเช่นนี้ทุกระยะ 2 ชั้น ของก้อน 10. ก่อก้อนถัดไปด้วยวิธีการเดียวกับชั้นแรก จนจบแนวชั้นที่สอง จากนั้นก็ก่อชั้นต่อๆ ไปด้วยวิธีการเดียวกันจนแล้วเสร็จ ข้อแนะนำในการก่อ 1. มุมกำแพงทุกมุมกรณีไม่ทำเสาเอ็น ค.ส.ล. ให้ก่อประสานเข้ามุม (Interlocking) ทั้งนี้ผนังต้องมีระยะไม่เกินข้อมูลตามตารางด้านล่าง และปลายกำแพงที่ยื่นออกมาเสาเกินกว่า 1.50 ม. (ยกเว้นกรณีใช้ตัวก้อนอิฐมวลเบา หนา 7.5 ซม. ต้องทำเสาเอ็น ค.ส.ล. ทุกขนาดพื้นที่ ที่ก่อไม่เกิน 10 ตร.ม.) พื้นที่สูงสุดของผนังอิฐมวลเบา โดยไม่ต้องมีเสาเอ็น / ทับหลัง ค.ส.ล. ความสูง(เมตร) ความยาวสูงสุดของผนังโดยไม่ต้องมีเสาเอ็น / ทับหลัง ค.ส.ล. (เมตร) ความหนาอิฐมวลเบา (เซนติเมตร) 7.5 10 12.5 15 17.5 20 2.5 4.2 6.3 8.0 10.0 10.5 10.5 2.75 3.7 6.0 7.0 9.5 10.5 10.5 3 3.4 5.7 6.6 8.2 10.0 10.5 3.25 3.0 4.9 6.0 7.5 9.0 10.5 3.5 2.0 4.5 5.3 7.0 8.0 10.5 3.75 - 3.5 4.8 6.4 7.0 10.0 4 - 3.0 3.8 5.5 6.0 9.5 4.5 - 1.5 2.5 4.0 5.5 9.0 5 - - 1.5 3.2 5.0 7.5 5.5 - - - 2.5 4.0 6.0 6 - - - - 3.0 5.0 2. การก่อผนังให้ก่อชนท้องคานหรือท้องพื้นทุกแห่ง โดยเว้นช่องไว้ประมาณ 2-3 ซม. แล้วอุดปูนทรายตลอดแนวและยึดแผ่นเหล็กยึดแรงหรือ Metal strap ที่ท้องพื้นหรือท้องคานไว้ทุกระยะไม่เกิน 1.20 ม. สำหรับผนังที่ก่อสูงไม่ชนท้องคานหรือพื้นทุกแห่ง จะต้องทำทับหลัง ค.ส.ล. 3. การก่อผนังที่ชนกับท้องพื้นโครงสร้างอาคาร ซึ่งมีโอกาสแอ่นตัวลงมาได้ ตามหลักการใช้งานก่อสร้างบางประเภท เช่น พื้นระบบ Post Tension หรือโครงสร้างเหล็ก จะต้องเว้นช่องว่างที่ส่วนบนไว้ประมาณ 2.5-4 ซม. แล้วเสริมวัสดุที่มีความยืดหยุ่นตัว เช่น โฟม, แผ่นยาง หรือ Fiber Glass ปิดก่อนฉาบทับและทำการเซาะร่องตามแนวรอยต่อ ข้อแนะนำในการใช้ แผ่นเหล็กยึดแรง Metal strap กับการก่อผนังอิฐมวลเบา 1. ควรมีระยะฝังของ Metal strap ในตัวก้อนไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของความยาวก้อน 2. ใช้เหล็กขูดเซาะร่อง ขูดตัวก้อนให้มีความยาว มากกว่าความยาวของระยะผังเหล็ก Metal strap ประมาณ 1 ซม. และมีความลึกของร่องขุดประมาณ 5 มม. 3. วางแผ่นเหล็กยึดแรง Metal strap (ที่ดัดฉากแล้ว) ตามร่องที่ขูดไว้ และใช้ตะปูชนิดตอกคอนกรีต 1 นิ้ว ตอกยึด Metal strap เข้ากับตัวโครงสร้าง 4. การก่อแบบประสานมุม (Interlocking) สามารถทำได้เมื่อใช้อิฐมวลเบา หนา 10 ซม. ขึ้นไป ให้ตอกตะปู ขนาด 1 นิ้ว ยึดแผ่นเหล็ก Metal strap กับตัวก้อนอิฐมวลเบา โดยใช้ตะปู 2 ตัว ยึดหัวและท้ายแบบทแยงกัน หมายเหตุ : การติดตั้งแผ่นเหล็กยึดแรง Metal strap จะต้องติดทุกๆ ระยะ 2 ของการก่ออิฐมวลเบา วิธีการติดตั้งคานทับหลังสำเร็จรูป (Lintel) สำหรับผนังอิฐมวลเบาที่มีความหนา 10 ซม.ขึ้นไปนั้น สามารถใช้ทับหลังสำเร็จรูป แทนการหล่อทับหลัง ค.ส.ล.ได้ โดยวางทับหลังสำเร็จรูปลงบนตัวก้อนอิฐมวลเบาทั้งสองด้าน (ไม่ให้น้ำหนักถ่ายลงบนวงกบโดยตรง) โดยต้องมีระยะนั่งของบ่าทั้งสองด้านเพียงพอ ตามตาราง ทั้งนี้ขนาดมาตรฐานของคานทับหลังสำเร็จรูป มีความยาวตั้งแต่ 1.20 ม. จนถึง 3.60 ม. ทุกๆ ช่วง 0.30 ม. ความหนา 10, 12.5 และ 20 ซม. ขนาดช่องเปิด B ระยะนั่งต่ำสุด A น้อยกว่า 1.00 ม. 0.15 ม. 1.00 - 1.90 ม. 0.20 ม. 2.00 - 3.00 ม. 0.30 ม. การฝังท่อร้อยสายไฟหรือท่อประปา 1. กำหนดแนวที่ต้องการฝังท่อ โดยใช้ดินสอขีดทำเครื่องหมายลงบนผนังอิฐมวลเบา หรือใช้เต้าตีเส้น โดยมีขนาดทีใกล้เคียงกับขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางท่อ 2. ใช้มอเตอร์เจียรที่เป็นใบพัดแบบตัดคอนกรีต ตัดตามแนวที่กำหนดไว้ ให้มีความลึกเท่ากับขนาดท่อ โดยความลึกสูงสุดไม่ควรเกิน 1 ใน 3 ของความหนาของตัวก้อน 3. ใช้สิ่วตอกเพื่อแซะเนื้อของตัวก้อนอิฐมวลเบาออกตามแนวที่ได้เจียรไว้ แล้วใช้เหล็กขูดเซาะร่องขูดเก็บส่วนที่ยังมีเศษติดค้างอยู่ให้เรียบร้อย พร้อมที่จะใส่ท่อร้อยสายไฟ หรือท่อประปา
วิธีการฉาบ ผนังอิฐมวลเบา การเตรียมพื้นผิว ใช้แปรงตีน้ำหรือไม้กวาดปาดและทำความสะอาดเศษผงที่ติดอยู่บนผนังอิฐมวลเบาให้หมด และหากมีรอยแตกบิ่นให้อุดด้วยปูนก่อเสียก่อน แล้วทั้งไว้ให้แห้งก่อนที่จะทำการฉาบ จากนั้นให้ราดน้ำที่ผนังให้ชุ่มประมาณ 2 ครั้ง แล้วทิ้งให้ผนังดูดซับน้ำ จึงเริ่มขั้นตอนการฉาบผนังอิฐมวลเบา การฉาบ การฉาบผนังอิฐมวลเบา จะใช้ปูนฉาบอิฐมวลเบาตราเสือคู่ ซึ่งมีคุณสมบัติพิเศษคือ มีแรงยึดเกาะสูง เนื้อละเอียด เหนียวลื่น มีความอุ้มน้ำสูง ทำให้ไม่แตกร้าว โดยการฉาบ จะฉาบด้วยความหนาเพียง 0.5 – 1.0 ซม. เท่านั้น ไม่ควรฉาบหนาเกิน 1.5 ซม. โดยปูนหนึ่งถุงน้ำหนัก 50 กก. นั้น ใช้น้ำสะอาด 10-12 ลิตรผสม ได้พื้นที่ ฉาบประมาณ 2.8-3 ตร.ม. วิธีฉาบปูน 1. ควรฉาบให้มีความหนาปูนฉาบเพียง 0.5-1.0 ซม. ให้ทำการฉาบ 2 ชั้น ชั้นละประมาณครึ่งหนึ่งของความหนาทั้งหมด 2. เมื่อฉาบชั้นแรกแล้วให้ทิ้งไว้ให้หมาด แล้วฉาบชั้นที่สองต่อ จนได้ความหนาที่ต้องการ หลังจากนั้นแต่งผิวให้เรียบตามวิธีปกติ ข้อแนะนำในการฉาบ 1. การฉาบปูนบนผนังอิฐมวลเบา โดยฉาบเป็นชั้นเดียวแล้วตีน้ำเลยนั้น ทำได้เฉพาะกรณีที่ฉาบหนาไม่เกิน 1.5 ซม. ถ้าเกินกว่านี้ อาจส่งผลให้เกิดการแตกร้าวที่ผิว เนื่องจากการหดตัวของปูนฉาบ 2. การฉาบหนากว่า 2 ซม. ต้องแบ่งฉาบชั้นละประมาณ 1-2 ซม. และติดลวดตาข่ายระหว่างชั้นเพื่อป้องกันการแตกร้าวในกรณีหนากว่า 4 ซม. 3. ก่อนฉาบให้ติดลวดหรือพลาสติกตาข่าย ตามบริเวณมุมวงกบประตู, หน้าต่าง, รอยต่อเสา รวมถึงบริเวณที่มีการขุดเซาะร่องเพื่อฝังท่อสายไฟหรือท่อน้ำ เพื่อลดปัญหาการแตกร้าวจากการฉาบ ข้อแนะนำในการเจาะและยึดแขวนวัสดุ หลังจากทำการฉาบผนังอิฐมวลเบาเรียบร้อยแล้ว หากต้องการตอกตะปูเพื่อใช้ในการยึดแขวนวัสดุหรือของใช้ต่างๆ ให้ฝังในพุกไนล่อนหรือพุกเหล็ก ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการยึดตะปูให้แน่นได้เป็นอย่างดี แสดงรูปร่างของพุกไนล่อน UX แสดงรูปร่างของพุกไนล่อน SX แสดงรูปร่างของพุกเหล็ก FMD ที่มาจาก vcharkarn.com โดยคุณ เด็กช่างอ่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น