วันพฤหัสบดีที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2555

ข้อดีข้อเสีย

ข้อดี การกันความร้อนได้ดี กันเสียงได้ดี การกันไฟ ได้นานกว่า 4 ชั่วโมง น้ำหนักเบาและรับแรงกดได้ดี ประหยัดพลังงาน ใช้งานง่าย และรวดเร็วกว่าอิฐทั่วไป อายุการใช้งาน ยาวนานเท่าโครงสร้างคอนกรีต ข้อเสีย 1. มีราคาแพง 2. ไม่ทนต่อความชื้น ทั้งนี้ ไม่ว่าจะใช้วัสดุคอนกรีตมวลเบา หรือ อิฐมอญ จะมีข้อดีและข้อเสีย และต้นทุนที่แตกต่างกันไป เช่น ก่อผนังด้วยอิฐมวลเบาทั้งหมดราคาค่าก่อก่อสร้างจะมีตัวเลขสูงขึ้นกว่าการก่อด้วยอิฐมอญชั้นเดียว แต่เมื่อนำอิฐมอญมาก่อผนัง 2 ชั้นราคาค่าก่อก่อสร้างกลับสูงกว่า เราจะเห็นบางโครงการจะใช้ทั้งคอนกรีตมวลเบา และอิฐมอญ สร้างบ้านหลังเดียว โดยส่วนผนังภายนอกที่ได้รับแสงแดดโดยตรง จะก่อด้วยอิฐมวลเบาหรือก่ออิฐมอญ 2 ชั้น ส่วนผนังภายในอาจจะก่อด้วยอิฐมอญชั้นเดียว หรืออิฐมวลเบาที่ความหนาน้อยกว่า เปรียบเทียบวัสดุหลายประเภท หัวข้อ / รายละเอียด อิฐมวลเบา อิฐมอญ หรืออิฐแดง ประเภทผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ คอนกรีตมวลเบาที่มีมาตรฐานสูง ผลิตภัณท์จากวัสดุคุณภาพ คัดเกรด มั่นคง แข็งแรง อายุการใช้งานยาวนาน ผลิตจากดินเหนียว ตัดให้ได้ขนาด แล้วนำเข้าเตาเผาคุณภาพไม่แน่นอน ดีบ้างไม่ดีบ้าง ขบวนการผลิต ผลิตจากเทคโนโลยีเยอรมัน ภายใต้การอบไอน้ำภายใต้ ความดันสูงจนกระทั่งเนื้อวัสดุเป็นผลึกที่แข็งแรงและเบา ทำด้วยแรงงานชาวบ้านตามชานเมืองที่มีแหล่งดินเหนียว มาตรฐานผลิตภัณฑ์ เป็นไปตาม มอก. 1505-2540 ระบุทุกประการได้รับการยอมรับในมาตรฐานสากล สินค้าในท้องตลาดส่วนใหญ่ไม่ได้มาตรฐานไม่แน่นอน แตกหักง่าย การขนส่ง และเครื่องย้าย บรรจุบนพาเลทไม้ ใช้เครื่องจักร รถโฟล์กลิฟท์ ขนส่งทีละพาเลท ขนด้วยแรงงานคนทีละก้อน มีปัญหามากในกรณีอาคารสูง และพื้นที่การกองเก็บ ราคาค่าติดตั้งต่อพื้นที่ผนัง 1 ตร.ม. อิฐมวลเบา Q-CON หนา 7.5 ซม. (โดยประมาณ) อิฐมอญ (โดยประมาณ) ค่าวัสดุ ค่าแรง รวม ค่าวัสดุ ค่าแรง รวม ค่าวัสดุ 165 0 165 70 0 70 ปูนก่อ 9 40 49 35 55 90 ปูนฉาบ 2 ด้าน 2 x 45 2 x 45 180 2 x 50 2 x 50 210 เหล็กหนวดกุ้ง 8 0 8 6 0 6 เสาเอ็น หรือทับหลัง คสล. 12 8 20 15 10 25 รวมผนังรวม 422 401 ขั้นตอนการออกแบบ - โครงสร้างอาคาร น้ำหนักเพียงครึ่งหนึ่งของอิฐมอญ (90 กก./ตร.ม.) ประหยัดจากการลดขนาดโครงสร้างอาคาร โครงสร้างขนาดใหญ่ เนื่องจากน้ำหนักมากกว่า 2 เท่า (180 กก./ตร.ม.) ขั้นตอนการก่อสร้าง - การควบคุม บริหารงานก่อสร้าง ควบคุมปริมาณวัสดุได้ จัดการอย่างเป็นระบบ ปริมาณใช้งานไม่แน่นอน ไม่เป็นระบบ - ความรวดเร็วในการติดตั้ง ก่อได้ 20-25 ตร.ม. / วัน เร็วกว่า 3-5 เท่า ต้องอาศัยความชำนาญ ก่อได้ 5-8 ตร.ม./ วัน - ขั้นตอนการก่อ ฉาบ ก่อบาง 2 มม. ฉาบบาง 1 ซม. ประหยัดวัสดุไม่แตกร้าว ก่อหนา 1.5 ซม. ฉาบหนา 2 ซม. แตกร้าวง่าย ขั้นตอนการใช้อาคาร - ประหยัดจากการลดขนาดเครื่องปรับอากาศลง 20% ประหยัดได้ประมาณ 3,000 - 9,000 บาท/เครื่อง เครื่องปรับอากาศ ต้องมีขนาดใหญ่และทำงานหนักเกือบตลอดเวลา - การประหยัดค่าไฟฟ้าจากเครื่องปรับอากาศ Q-CON ประหยัดกว่า 25% อิฐมอญไม่เป็นฉนวนและเก็บสะสมความร้อนไว้ในตัวเอง สิ้นเปลืองไฟมาก - การกันเสียง กันเสียได้ดี ไม่กันเสียง - ปลอดภัยกว่า เมื่อเกิดไฟไหม้อาคาร ทนไฟและกันได้นานกว่า 4 ชั่วโมง กันไฟได้เพียง 1 - 1.5 ซม. เท่านั้น - ค่านิยม และความทันสมัย ผลิตภัณฑ์ยุคใหม่ เพื่อผู้ใช้อาคารอย่างแท้จริง วัสดุดั่งเดิมใช้มานานกว่า 100 ปี ไม่มีการพัฒนา - อายุการใช้งาน อายุการใช้งานนานกว่า 50 ปี สั้นกว่ามาก ข้อมูลเปรียบเทียบวัสดุก่อผนังแต่ละชนิด รายการ อิฐมอญ อิฐบล็อค อิฐมวลเบา โครงสร้างบล็อก ตัน กลวง กลวง ก่อผนังเป็นผนังรับแรง ไม่ได้ ได้ ได้ จำนวนก้อนที่ใช้ต่อตารางเมตร 120-135 ก้อน 12.5 ก้อน 8.33 ก้อน น้ำหนักเฉลี่ยเฉพาะวัสดุ 130 กก./ ตร.ม. 115 กก./ ตร.ม. 50 กก./ ตร.ม. ค่าการรับแรงอัด 20-30 กก./ ตร.ซม. 10.15 กก./ ตร.ซม. 35-50 กก./ ตร.ซม. อัตราการทนไฟ (หนา 10 ซ.ม.) 2 ชม. 1 ชม. 2-4 ชม. การดูดซึมน้ำ สูง สูง ปานกลาง การสูญเสีย/แตกร้าว 15-20% 10-15% 5% ราคาวัสดุ (บาท/ตร.ม.) 80 50 285* เปรียบเทียบลักษณะคุณสมบัติอิฐมอญกับคอนกรีตมวลเบา ข้อเปรียบเทียบคุณสมบัติวัสดุ อิฐมอญ คอนกรีตมวลเบา ราคา - - โครงสร้างบล็อค ตัน กลวง ก่อผนังเป็นผนังรับแรง ไม่ได้ ได้ การดูดซึมน้ำ สูง ปานกลาง ความหนาของปูนก่อระหว่างก้อน 1.5 เซนติเมตร 2.3 มิลลิเมตร ความหนาของปูนที่ฉาบ 20-25 มิลลิเมตร 10 มิลลิเมตร น้ำหนักวัสดุ (กก./ตร.ม.) 130 45 น้ำหนักผนังรวมฉาบปูน 2 ด้าน (กก./ตร.ม.) 180 90 จำนวนใช้งานต่อ 1 ตร.ม. (ก้อน/ตร.ม.) 130 - 145 8.33 ค่ากำลังอัด ( Compressive Strength ) (กก./ตร.ซม.) 15 - 40 30 - 80 ค่าการนำความร้อน ( Thermal Conductivity ) ( วัตต์/ม.เคลวิน ) 1.15 0.13 ค่าการถ่ายเทความร้อนรวม OTTV ( วัตต์/ตร.ม. ) 58 - 70 32 - 42 อัตราการกันเสียง ( STC Rating ) ( เดซิเบล ) 38 43 อัตราการทนไฟ ( Fire Rating ) (ความหนา 10 เซนติเมตร) 2 4 ความเร็วในการก่อ ( ตร.ม./วัน ) 6-12 15-25 เปอร์เซ็นต์สูญเสีย / แตกร้าว 10 - 30 % 0 - 3 % การติดตั้งวงกบประตู-หน้าต่าง หล่อเสาเอ็นทับหลังและต้องมีค้ำยัน ไม่ต้องเททับหลังและไม่ต้องมีค้ำยัน ที่มาจาก vcharkarn.com โดยคุณ เด็กช่างอ่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น