วันพุธที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ลาดกระบังค้นคว้าสูตรใหม่อิฐมวลเบาผสมขี้เถ้าแกลบเพิ่มความเย็นให้บ้านประหยัดพลังงาน

"เทคโนลาดกระบัง" จับมือเอกชนพัฒนาเทคโนโลยีผลิตอิฐมวลเบาจากขี้เถ้า ส่วนผสมใหม่ทดแทนทรายและปูนซีเมนต์ ระบุจุดเด่นขี้เถ้าแกลบช่วยลดอุณหภูมิห้องลงเฉลี่ย 1 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับอิฐบล็อกและอิฐมอญ

ดร.วัชระ เพิ่มชาติ ภาควิชาวิศวกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กล่าวว่า คณะวิศวกรรมศาสตร์ ร่วมกับบริษัท Professional Block จำกัด ในการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอิฐมวลเบา ทดแทนการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ โดยมุ่งพัฒนาการผลิตอิฐมวลเบาชนิดไม่อบไอน้ำ ร่วมกับการค้นหาสูตรส่วนผสมใหม่ ที่ให้คุณภาพใกล้เคียงกับผลิตภัณฑ์ที่ผลิตด้วยเทคโนโลยีจากต่างประเทศ ทั้งยังมีคุณภาพดีกว่าอิฐบล็อกและอิฐมอญ ซึ่งเป็นวัสดุดั้งเดิมสำหรับงานก่อสร้างทั่วไป

ทีมงานได้ทดสอบคุณสมบัติอิฐมวลเบาที่ใช้วัตถุดิบต่างชนิด อาทิเช่น ปูนซีเมนต์ ทราย โฟม ขี้เถ้าลอยจากแกลบและขี้เถ้าลอยจากถ่านหิน เปรียบเทียบกับอิฐมอญและอิฐบล็อกธรรมดา ในเรื่องน้ำหนัก กันความร้อนและต้นทุน ทั้งนี้ ขี้เถ้าลอยเป็นของเหลือทิ้งจากขบวนการเผาไหม้ ที่มีคุณสมบัติเหมาะสม สามารถนำมาทดแทนทรายและปูนซีเมนต์ ซึ่งเป็นส่วนประกอบในอิฐ จึงลดต้นทุนผลิต และเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

"ผลการศึกษาพบอัตราส่วนผสมเถ้าลอยของทั้งถ่านหินและแกลบที่ร้อยละ 12.5 โดยน้ำหนักจะให้ค่าความแข็งแรงของวัสดุสูงที่สุด นอกจากนี้ ยังพบว่าหากผสมขี้เถ้าลอยในอัตราส่วนที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้การนำความร้อนของอิฐมวลเบาลดลงตามอัตราส่วน ขณะที่อิฐผสมเถ้าลอยแกลบจะให้ค่าการนำความร้อนต่ำกว่าเถ้าลอยถ่านหิน" ดร.วัชระกล่าว

จากการทดสอบวัดอุณหภูมิภายในห้อง ที่ผนังสร้างจากอิฐมวลเบาพบว่า มีค่าต่ำกว่าห้องที่สร้างจากอิฐมอญเฉลี่ย 1.0-1.5 องศาเซลเซียส และผลจากการเปรียบเทียบค่าใช้จ่าย ในการสร้างผนังอาคารโดยใช้อิฐแบบต่างๆ เช่น อิฐมวลเบาสูตรเดิมของบริษัท อิฐมอญและอิฐมวลเบาผสมเถ้าลอยแกลบพบว่า อิฐมวลเบาผสมเถ้าลอยแกลบ สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายสูงสุด หรือต้นทุนผลิตอยู่ที่ 320 บาทต่อตารางเมตร ขณะที่อิฐมอญและอิฐมวลเบาดั้งเดิม ต้นทุนอยู่ที่ 370-375 บาทต่อตารางเมตร
ปัจจุบันวงการวัสดุก่อสร้างไทยเริ่มพัฒนาอิฐมวลเบา เพื่อใช้เป็นวัสดุหลักในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือนทดแทนอิฐบล็อกและอิฐมอญ เนื่องจากอิฐมวลเบามีคุณสมบัติโดดเด่น ในเรื่องของน้ำหนัก ใช้ส่วนผสมปูนซีเมนต์น้อย ระยะเวลาก่อสร้างสั้นลง ตลอดจนสามารถกันความร้อน ทำให้อิฐชนิดนี้เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น

เอกชนหลายแห่งได้พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอิฐมวลเบาในรูปแบบต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และลดระยะเวลาในการผลิตให้สั้นลง เช่น การผลิตแบบอบไอน้ำและไม่อบไอน้ำ แต่เนื่องจากเทคโนโลยีการผลิตจำเป็นต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ส่งผลให้ราคาของอิฐมวลเบาชนิดอบไอน้ำยังอยู่ในเกณฑ์สูง เมื่อเทียบกับราคาอิฐทั่วไป

"ความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาและภาคอุตสาหกรรม ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถนำผลที่ได้จากงานวิจัยไปใช้ปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์ได้ในอนาคต ซึ่งเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรมของประเทศ โดยลดการนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศ" หัวหน้าโครงการวิจัย กล่าว

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ 8/1/50

อิฐรักษ์โลก


งานก่อสร้างตั้งแต่ปีเสือจนถึงปีกระต่าย ไม่ว่าโครงการเล็กหรือใหญ่ ต่างหันมาใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในการก่อสร้างมากขึ้น เพื่อเป็นจุดขาย เพิ่มความทันสมัย และการมีส่วนร่วมลดโลกร้อนของผู้อยู่อาศัยอย่างลงตัว

เทรนด์กรีน
นายธนกร ปริศวงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อีโค่ แมท จำกัด ผู้พัฒนาอิฐอีโค่บล็อก เล่าว่า บริษัทขนาดย่อมของเขาเป็นองค์กรหนึ่งที่เกิดขึ้นในปี 2547 เพื่อวิจัยและพัฒนาอิฐรักษ์โลกโดยตรง เพราะมองเห็นโอกาสการเติบโตของวัสดุก่อสร้างทางเลือกสีเขียว

บริษัทได้รับโจทย์จากโรงงานผลิตไฟฟ้าจากแกลบแห่งหนึ่งในจ.สระบุรี ที่ต้องการช่องทางปล่อยของเหลือจากกระบวนการผลิตที่อยู่ในรูปขี้เถ้าแกลบ ซึ่งทางออกมีเพียงนำไปฝังกลบและผสมดินปลูกต้นไม้จำหน่ายซึ่งเป็นช่องทางที่ปล่อยของเหลือได้น้อยมาก

อีโค่บล็อก เกิดขึ้นจากประสบการณ์ที่คลุกคลีอยู่ในวงการวิจัยและพัฒนาวัสดุทำผนังมานานกว่า 20 ปีของ ธนกร ด้วยการเป็นผู้บริหารเกี่ยวกับวัสดุก่อสร้างผนังอยู่ในบริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) และบริษัท ไทยผลิตภัณฑ์ยิปซั่ม จำกัด

เขาเริ่มถ่ายทอดภูมิความรู้ให้ฟังว่า วัสดุทำผนังที่มีในตลาดดั้งเดิมเป็นอิฐมอญสีแดง แต่มีข้อเสียอยู่ที่น้ำหนักมาก อมความร้อน ทำให้พัฒนาการของอิฐก่อผนังถูกยกระดับเป็นอิฐมวลเบาในเวลาต่อมา แต่ก็ยังเป็นเทคโนโลยีที่มีราคาแพงเพราะซื้อโนฮาวน์มาจากประเทศเยอรมนี แต่ความแข็งแรงยังไม่สามารถตอบโจทย์ด้านการตอกยึดเพื่อแขวนของหนักได้

“อิฐมอญแดงต้องปั้นแล้วนำไปเผาก่อให้เกิดมลพิษระหว่างกระบวนการผลิต ส่วนอิฐมวลเบาระหว่างกระบวนการผลิตต้องนำไปอบไอน้ำให้มีน้ำหนักที่เบา แต่ด้วยความเบาเพราะทำจากส่วนผสมจากโฟมจึงไม่สามารถรับน้ำหนักในการตอกเจาะยึดสิ่งของที่มีน้ำหนักได้ดี” ธนกร ชี้ให้เห็นถึงจุดอ่อนวัสดุก่อสร้างในปัจจุบัน

สร้างจุดแข็งด้วยจุดอ่อนคู่แข่ง
ปัญหาที่พบในอิฐมอญและอิฐมวลเบานี้เอง เป็นที่มาของการพัฒนาอีโค่บล็อกที่มีคุณสมบัติเติมเต็มจุดอ่อนของผลิตภัณฑ์คู่แข่ง โดยหันไปเน้นจุดขายที่ส่วนผสมจากธรรมชาติ โดยนำขี้เถ้าแกลบจากโรงงานผลิตไฟฟ้าจากแกลบ และขี้เลื่อยไม้มาใช้เป็นวัตถุดิบเสริมความแข็งแรงให้กับคอนกรีตซึ่งเป็นวัตถุดิบตั้งต้น

เจ้าของอิฐอีโค่บล็อกบอกว่า ข้อดีของขี้เถ้าแกลบอยู่ที่น้ำหนักเบา สามารถนำไปใช้เป็นส่วนผสมร่วมกับขี้เลื่อยและคอนกรีตได้ถึง 50% ทำให้ต้นทุนในการผลิตต่อก้อนมีราคาที่ถูกลงและสามารถจำหน่ายในราคาที่ไม่ต่างจากอิฐมอญทั่วไปได้

กระบวนการผลิตของอีโค่บล็อกถือเป็นหัวใจสำคัญที่สร้างความภาคภูมิใจให้กับ ธนกร เพราะเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมตั้งแต่เริ่มจนจบกระบวนการ โดยส่วนผสมจะถูกคลุกเคล้าให้เข้ากันในไซโล และลำเลียงขึ้นสู่สายพานเทลงสู่บล็อกขึ้นรูปเป็นอิฐบล็อกขนาด 19x39x7 เซนติเมตรด้วยเครื่องอัดไฮโดรลิก จากนั้นนำไปผึ่งลม 1 คืนและผ่านการบ่มน้ำตากแดดอีก 3-4 วันพร้อมเสิร์ฟถึงมือผู้ก่อสร้าง

“ตลอดกระบวนการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพราะใช้ไฟฟ้าอัดขึ้นรูปในช่วงสั้นๆ และอาศัยแสงแดดในการทำให้แห้ง ขณะที่การผลิตอิฐมอญจะต้องเผาซึ่งก่อให้เกิดมลพิษในอากาศ ส่วนอิฐมวลเบาต้องอบไอน้ำซึ่งใช้พลังงานมหาศาล”กรรมการผู้จัดการ บริษัท อีโค่ แมท จำกัด กล่าว

การันตีผลงานคับคั่ง
อีโค่บล็อกที่วิจัยและพัฒนาได้ถูกส่งไปทดสอบประสิทธิภาพการความทนทานหลายแห่งด้วยกัน อาทิ การทดสอบเรื่องเสียงและการทนไฟ จากศูนย์บริการวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งรับรองผลว่ามีค่ากันเสียงได้ 40 เดซิเบล และมีค่าทนไฟ 4 ชั่วโมง

นอกจากนี้ยังส่งไปทดสอบที่สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย พบว่ามีความต้านทานแรงกดได้ 7,000 กิโลกรัม และดูดซึมน้ำ 21-23% ขณะที่ผนังอิฐมอญดูดซึมน้ำประมาณ 30-35% ซึ่งคุณสมบัติการดูดซึมน้ำน้อยจะทำให้ผิวปูนฉาบมีน้ำมากพอที่ปูนซีเมนต์จะเกิดปฏิกิริยาทำให้แข็งตัวได้ดี ลดโอกาสการแตกลายงาที่พบในอาคารก่อสร้างและบ้านพักอาศัยในปัจจุบัน

อีโค่บล็อกจะเป็นทางเลือกในการแก้ปัญหาที่สิ่งอาคารบ้านเรือนก่อสร้างพบ อาทิ การแตกลายของผนังที่ฉาบเนื่องจากสภาพแวดล้อม และวัสดุที่เกิดการหดตัว ซึ่งแม้แต่ต่างประเทศก็เป็น เราจึงมักเห็นสถาปัตยกรรมในต่างประเทศที่ก่อสร้างแบบไม่ฉาบปูนและไม่ทาสีเป็นจำนวนมาก เพื่อลดการซ่อมแซมริ้วรอยที่ซ้ำซ้อน

นวัตกรรมอิฐสีเขียว อีโค่บล็อกยังได้รับรางวัลรองชนะเลิศด้านผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร ประเภทนักออกแบบ ประชาชน ธุรกิจอุตสาหกรรม และรางวัลป๊อปปูล่าโหวต ในการประกวดออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงนิเวศเศรษฐกิจแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 3 ประจำปี 2553 ซึ่งจัดขึ้นโดยศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติเมื่อปลายปีเสือที่ผ่านมา

ทั้งยังได้รับการประเมินวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ (แอลซีเอ) จากศูนย์ความเป็นเลิศเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ภายใต้ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ รับรองว่าเป็นนวัตกรรมที่มีผลกระทบน้อยกว่าอิฐมอญและน้อยกว่าอิฐมวลเบา ซึ่งอนาคตมีประโยชน์หลังจากก่อสร้างเป็นอาคารในแง่การคำนวณค่าการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกของอาคารสะดวก

“ธุรกิจอีโค่บล็อกเป็นธุรกิจเอสเอ็มอี เกิดขึ้นด้วยเงินทุนเพียง 3-4 ล้านบาท มีเป้าหมายสูงสุดในอนาคตว่า อยากจะนั่งแท่นเป็นวัสดุทางเลือกในบัญชีแนะนำวัสดุก่อสร้างของวิศวกร โดยเฉพาะโครงการก่อสร้าง คอนโด บ้านพัก รีสอร์ท สำนักงานที่มีคอนเซ็ปต์อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม”กรรมการผู้จัดการ บริษัท อีโค่ แมท จำกัด กล่าว

ขณะนี้บริษัทมีกำลังผลิตอีโค่บล็อกอยู่ที่ประมาณวันละ 20,000 ก้อน โดยปีที่ผ่านมามียอดจำหน่ายไปประมาณ 3 ล้านกว่าก้อนตลอดปี และมีการขยายผลเพิ่มในส่วนของการมองหาพันธมิตรที่ทำหน้าที่ผลิตอีโค่บล็อกและส่งต่อให้บริษัทเป็นผู้จำหน่ายแต่เพียงผู้เดียว ซึ่งตอนนี้มีพันธมิตรแล้ว 2 แห่งและยังเปิดโอกาสสำหรับทุกคนที่ผู้สนใจลงทุน

ธนกร คาดการณ์เกี่ยวกับวัตถุดิบที่นำมาใช้ว่า ในตอนนี้วัตถุดิบขี้เถ้าแกลบที่ได้จากโรงไฟฟ้าในจังหวัดสระบุรี 2 แห่งถือว่ายังมีมากพอ เพราะยิ่งมีโรงไฟฟ้าที่ใช้แกลบเป็นเชื้อเพลิงจะสิ่งมีวัตถุดิบในการผลิตอีโค่บล็อกมากเช่นกัน และอนาคตไม่มีวันหมด จุดนี้เองที่ทำให้ธุรกิจดังกล่าวสามารถนำไปเจรจาเพื่อขายโนฮาวน์กับเวียดนามซึ่งประเทศเขามีกำลังผลิตข้าวเพิ่มขึ้นทุกปีและแกลบไม่มีวันหมดเช่นกัน

ที่มา http://eureka.bangkokbiznews.com/detail/373831

CLB อิฐมวลเบาโดยวิศวกรคนไทย

วันเสาร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2555


ลักษณะอิฐมวลเบา

ลักษณะของอิฐมวลเบา แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดได้แก่

อิฐมวลเบาแบบเสริมเหล็ก หรือที่เรียกว่า Q-con คือส่วนที่ใช้ก่อสร้างแผ่นผนัง พื้น หรือหลังคา เป็นต้น
และอิฐมวลเบาแบบไม่เสริมเหล็ก เรียกว่า Super Block คือส่วนที่ใช้สำหรับก่อผนัง ที่มีความหนา
สามารถทนแรงกดได้ถึง 30-80 กก. ใช้ก่อเป็นผนังรับแรงได้ประมาณ 80 กก./ตรม.
อิฐมวลเบา 1 ก้อน เท่ากับอิฐมอญ 18 ก้อน ส่วนประกอบของอิฐมวลเบานั้นทำมาจาก ทราย ซีเมนต์ ปูนขาว
ยิปซั่ม และผงอลูมิเนียม มีฟองอากาศมากประมาณ 75% จึงมีความเบา ลอยน้ำได้ ฟองอากาศเป็น
closed cell ที่ไม่ดูดซึมน้ำ หรือดูดซึมน้ำน้อยกว่าอิฐมอญ 4 เท่า
ซึ่งคุณสมบัติพิเศษเช่นนี้ทำให้ประหยัดโครงสร้างได้อย่างมาก อีกทั้งยังเป็นฉนวนกันความร้อน
เพราะมีค่าการต้านทานความร้อนดีกว่าคอนกรีตบล็อกถึง 4 เท่า และดีกว่าอิฐมอญ 6-8 เท่า
ไม่สะสมความร้อน ไม่ติดไฟ ทนไฟ 1,100 องศาได้นาน 4 ชม. และยังกันเสียงได้ดี
เมื่อฉาบจะแตกร้าวน้อยกว่าก่ออิฐฉาบปูน เนื่องจากตัวบล็อกกับปูนฉาบมีส่วนผสมที่ใกล้เคียงกัน


ประเภทของอิฐมวลเบา

ประเภทของอิฐมวลเบา แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

1. อิฐมวลเบาแบบที่มีฟองอากาศข้างใน

2. อิฐมวลเบาแบบที่ใช้ additive เป็นส่วนผสมให้มีน้ำหนักเบา

3. อิฐมวลเบาแบบที่ใช้โฟม เป็น aggrigate ส่วนผสมของทรายและปูนเข้าด้วยกัน

อิฐมวลเบา ราคาอิฐมวลเบา ร้านขายอิฐมวลเบา อิฐมวลเบาซีแพค

ที่มา http://www.xn--h3cuuqj7a3bk6i.net/%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%90%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B2/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A0%E0%B8%97%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%90%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B2.html

วันพุธที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

วัตกรรมอิฐมวลเบาด้วยเศษโฟม


สมบูรณ์ คงสมศักดิ์ศิริ พลิกตำรารีไซเคิลวัสดุ วิจัยนวัตกรรมอิฐมวลเบาด้วยเศษโฟม



หลายปีที่ผ่านมา "อิฐมวลเบา" (คอนกรีตมวลเบา) กลายเป็นวัสดุทดแทนที่ได้รับความนิยมมากขึ้น ด้วยคุณสมบัติเฉพาะตัวที่สามารถป้องกันความร้อนได้ดีกว่าอิฐมอญประมาณ 3 เท่า และก่อผนังได้รวดเร็ว อิฐมวลเบาแบรนด์ต่าง ๆ ที่มีขายปัจจุบัน ส่วนใหญ่เป็นเทคโนโลยีการผลิตที่มาจากเครื่องจักรต่างประเทศเกือบทั้งสิ้น

อย่างไรก็ตาม วันนี้ได้มีอิฐมวลเบาหรือบล็อกคอนกรีตมวลเบาที่มาจากการคิดค้นโดยคนไทยแล้ว ผลงานของ "ผศ.สมบูรณ์ คงสมศักดิ์ศิริ" อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วัย 57 ปี ที่ใช้เวลาค้นคว้าเกี่ยวกับการนำวัสดุรีไซเคิลมาพัฒนาเป็น "นวัตกรรมวัสดุก่อสร้าง" เพื่อใช้เป็นวัสดุทดแทนธรรมชาติ

กว่า 5 ปีที่ผ่านมา นับจากปี 2548 "อ.สมบูรณ์" ใช้เวลาศึกษาและพัฒนา อย่างจริงจัง มีวัสดุทดแทนเกิดขึ้นแล้ว 11 รายการ หนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่ถือเป็นมาสเตอร์พีซคือ "อิฐมวลเบา" ที่ใช้วัสดุเหลือทิ้งอย่าง "เศษโฟม" มารีไซเคิล โดยได้รับทุนสนับสนุนจาก สกว. (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย) และบริษัท โปลิโฟมอุตสาหกรรม จำกัด จนกลายเป็นอิฐมวลเบาที่นำมาก่อผนังได้จริง มีความแข็งแรงได้ตามมาตรฐานและค่าการดูดซึมน้ำต่ำ

ความยากอยู่ที่การวิจัยเพื่อหาส่วนผสมวัตถุดิบที่ลงตัว เพื่อให้ได้อิฐคอนกรีตมวลเบาที่มีค่าการรับน้ำหนักได้มาตรฐานและมีอัตราดูดซึมน้ำต่ำ

"จุดเริ่มต้นการคิดค้นอิฐมวลเบา มาจากแนวคิดที่อยากนำวัสดุเหลือทิ้งอย่างเศษโฟมมารีไซเคิล แทนที่จะนำไปเผาทำลายกลายเป็นมลภาวะ และได้ใช้อิฐมวลเบาที่พัฒนาขึ้นเองมาก่อสร้างเป็นบ้านจำลองขนาดย่อมอยู่ภายในพระจอมเกล้าพระนครเหนือมานาน 5 ปีแล้ว และสภาพบ้านก็ยังดีไม่มีปัญหาผนังแตกร้าว" ผศ.สมบูรณ์บอกกับ "ประชาชาติธุรกิจ"

ทั้งนี้ การรับน้ำหนักของอิฐมวลเบามีการอ้างอิงตามมาตรฐาน มอก. อย่างมาตรฐานกำหนดว่าต้องรับน้ำหนักได้ไม่ต่ำกว่า 25 KSC (กิโลกรัม/ตร.ซม.) แต่สำหรับคอนกรีตมวลเบาที่ผลิตสามารถรับน้ำหนักได้สูงกว่ามาตรฐานคือ 50 KSC และมีอัตราดูดซึมน้ำ 10% ต่ำกว่าอิฐมวลเบาบางยี่ห้อในตลาด

โดยอิฐมวลเบาขนาด (กว้าง-ยาว-หนา) 10 x 25 x 12.5 เซนติเมตร มีรูปร่างคล้ายบล็อกคอนกรีตทั่วไป ถูกออกแบบให้มีรูตรงกลางสำหรับเทปูนซีเมนต์ เพื่อเป็น ตัวประสานบล็อกแต่ละก้อน แต่ละก้อนมีน้ำหนักประมาณกว่า 1 กิโลกรัมจึงเคลื่อนย้ายสะดวก

การเลือกใช้เศษโฟมรีไซเคิลมาเป็นส่วนผสม ยังมีข้อดีในเรื่องการประหยัดพลังงาน เพราะมีคุณสมบัติเป็นฉนวน เฉลี่ยแล้วประหยัดแอร์ได้เพิ่มขึ้นประมาณ 30% และช่วยเก็บความเย็นภายในห้องได้อีกนานหลายชั่วโมงหลังจากปิดแอร์ ส่วนต้นทุนการผลิตก็ถือว่าถูกมาก

"ผมคำนวณออกมาแล้ว มีต้นทุนประมาณก้อนละไม่เกิน 5 บาทเท่านั้น"

ข้อดีของอิฐมวลเบาที่ผลิต คือสะดวกต่อการนำมาก่อผนัง เพราะสามารถใช้ปูนซีเมนต์ทั่วไป ต่างจากอิฐมวลเบาหลายยี่ห้อในตลาดที่ต้องใช้ปูนซีเมนต์สูตรพิเศษโดยเฉพาะเท่านั้น

"หลังจากนี้ ผมก็มองเรื่องการจดอนุสิทธิบัตรไว้ เพราะคงไม่คิดผลิตขายเอง แต่ถ้ามีคนสนใจ คงเป็นลักษณะการซื้อขายลิขสิทธิ์มากกว่า"

"อ.สมบูรณ์" บอกว่า นอกจากฐมวลเบา ยังมีวัสดุทดแทนอื่น ๆ ที่มีความคิดว่าจะจดอนุสิทธิบัตรอีก 2 ตัว คือ 1) บล็อกดินมวลเบา และ 2) ไม้เทียมที่ผลิตจากกระดาษถ่ายเอกสารนำมารีไซเคิล

"ผมตั้งใจจะพัฒนาบล็อกดินเหนียว มวลเบาให้สำเร็จ เพื่อให้กลายมาเป็นวัสดุ ที่สามารถนำไปก่อผนังได้ง่าย เพราะมีน้ำหนักเบาและออกแบบรูสำหรับหยอด ปูนซีเมนต์ไว้ให้"

ความฝันของอาจารย์ คือแค่มีความรู้เรื่องช่างติดตัวเล็กน้อย ก็สามารถก่อผนังเองได้ !

ที่มา http://www.prachachat.net/view_news.php?newsid=02rea01190753&sectionid=0217&day=2010-07-19

คุณสมบัติที่ดีของอิฐมวลเบา

 

   คุณสมบัติที่ดีของอิฐมวลเบามีอยู่มากมาย เนื่องจากอิฐมวลเบาเป็นผลิตภัณฑ์คอนกรีตที่ถูกพัฒนาขึ้นมาใหม่ มีกรรมวิธีการผลิตจากธรรมชาติ ประกอบด้วยปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ทราย ปูนขาว ยิปซั่ม น้ำ และสารกระจายฟองอากาศที่เป็นส่วนผสมพิเศษของเทคโนโลยีที่ได้คิดค้นขึ้น ซึ่งร้านขายอิฐมวลเบา อิฐมวลเบาซีแพค คอนกรีตมวลเบา อิฐบล็อกมวลเบาใช้ระบบการผลิตอิฐมวลเบาแบบ AAC หรือที่รู้จักกันดีว่า Autoclaved Aerated Concrete จากเครื่องจักรที่นำเขาจากต่างประเทศ ผลิตภัณฑ์อิฐมวลเบาเป็นวัสดุก่อสร้างยุคใหม่ที่มีความพิเศษคือ น้ำหนักเบา ขนาดมาตรฐานเท่ากันทุกก้อน ทนต่อความร้อน ไฟ เสียง และยังสามารถตัดแต่งเข้ารูปได้ง่าย ไม่มีเศษเป็นอิฐหัก ที่สำคัญไปกว่านั้นอิฐมวลเบายังช่วยให้การฉาบอิฐมวลเบารวดเร็ว สะดวก ลดระยะเวลา และต้นทุนในการก่อสร้าง ซึ่งหากเปรียบเทียบราคาอิฐมวลเบากับราคาอิฐมอญ และราคาอิฐบล็อกแล้วมีราคาที่สูงกว่า แต่ก็มีประสิทธิภาพที่มากกว่าเช่นกัน โดยอิฐมวลเบาสามารถแบ่งออกเป็น 3 ชนิดคือ อิฐมวลเบาที่มีฟองอากาศภายใน อิฐมวลเบาที่ใช้วัตถุเจือปนเป็นส่วนผสมทำให้มีน้ำหนักเบา และอิฐมวลเบาที่ใช้โฟมเป็นส่วนผสมของทราย คอนกรีต และปูนให้เข้าด้วยกัน

การผลิตอิฐมวลเบา